ชี้แจงผลประกอบการไตรมาสที่ 3

เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07017t/pc

วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เรื่อง ชี้แจงผลประกอบการไตรมาสที่ 3

เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ภาพรวม

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") มีผลกำไรสุทธิ 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2550 (ไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550) เท่ากับ 1,389.86 ล้านบาท โดยรวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 100.45 ล้านบาทแล้ว และมีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 2.16 บาท

สำหรับในงวดเดียวกันของปีก่อน คือ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 (ไตรมาสที่ 3 ของ ปีบัญชี 2549) บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 702.98 ล้านบาท โดยรวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 129.33 ล้านบาทไว้แล้ว และมีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 1.09 บาท

บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานทั้งหมดในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 5,400.66 ล้านบาท มีรายจ่าย จากการดำเนินงานทั้งหมดในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 3,424.71 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่ากับ 638.59 ล้านบาท จากวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น เท่ากับ 1,313.13 ล้านบาท บริษัทฯ มีเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นเงิน 4,968.50 ล้านบาท และ (1,133.89) ล้านบาทตามลำดับ และนำไปใช้ในกิจกรรมการลงทุนเท่ากับ 2,514.29 ล้านบาท

อัตราค่าระวางเรือโดยเฉลี่ย รวมอัตราค่าระวางเรือที่บริษัทฯ เช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มเติม เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.06 จาก 10,471 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2549 เป็น 16,550 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ต่อลำในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 จำนวนวันเดินเรือลดลงร้อยละ 0.85 จาก 4,130 วัน ในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2549 เป็น 4,095 วันในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550

การที่ผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นนั้นมีสาเหตุหลักมาจากความเติบโตของตลาดในธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง และตลาดใน ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น

...ต่อหน้า 2/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 2
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07017t/pc

 

การวิเคราะห์ส่วนงานธุรกิจหลัก

ธุรกิจ 3 ประเภทหลักๆ ของบริษัทฯ ได้แก่ ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง และธุรกิจ บริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ มีผลกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น

ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมีผลกำไรสุทธิ 1,144.06 ล้านบาท ไม่รวมผลกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.87 เทียบกับระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 (ไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550) และไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550

กำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้นมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากอัตราค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้อัตราค่าระวางเรือโดยเฉลี่ย รวม อัตราค่าระวางเรือที่บริษัทฯ เช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มเติมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.51 จาก 14,453 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำ ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 เป็น 16,550 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำ ในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550

ปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดของกองเรือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ยังคง อยู่ในระดับสูงโดยมีปริมาณการขนส่งสินค้าจำนวน 9.6 ล้านตัน จากการที่ได้พูดคุยกับลูกค้า บริษัทฯ เชื่อว่าความต้องการในการ ขนส่งสินค้าในตลาดหลักของเราที่ยังแข็งแกร่งอยู่ อาทิ จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตะวันออกกลาง จะยังคงดำเนิน ต่อไปด้วยดีจนกระทั่งปี 2551

จำนวนวันเดินเรือในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 4,095 วัน เทียบกับ 4,027 วันในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ปล่อยเช่าเรือแบบให้เช่าเหมาลำเป็นระยะเวลา (time charter) เพิ่มจากเดิม อีก 2-3 ลำ ซึ่งมีระยะเวลาการเช่าไปจนถึง 2 ปี ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.22 เนื่องจากมีจำนวนวันเดินเรือที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 และหลังจากสิ้นไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 บริษัทฯ ได้เช่าเรือแบบให้เช่าเหมาลำเป็นระยะเวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 ลำ ทำให้มีจำนวนเรือที่บริษัทเช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มขึ้นเป็น 6 ลำ

ทั้งนี้ส่วนงานธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ได้มีสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลา สำหรับรอบปีบัญชี 2550 ไว้แล้วร้อยละ 32.50 ของระวางบรรทุกสินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ และร้อยละ 17.69 ของระวางบรรทุก สินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ ในรอบปีบัญชี 2551 ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากการทำสัญญาไว้ล่วงหน้าแล้วในปีหน้า

...ต่อหน้า 3/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 3
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07017t/pc

 

ตลาดธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ยังคงแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 อัตราค่าเช่าเรือในตลาดเช่า เรือระยะสั้นขนาด Supramax (Baltic Supramax Index) (จากการคำนวณของ Baltic Exchange Limited) อยู่ในระดับ เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 และยังคงอยู่ในระดับสูงมาจนถึงไตรมาสปัจจุบัน (49,854 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550) ทั้งนี้อัตราค่าเช่าเรือขนาด Supramax เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 41,706 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันในไตรมาสนี้

รายงานจาก R.S. Platou เมื่อไม่นานมานี้ ได้คาดการณ์ไว้ว่า การเติบโตของความต้องการขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 6.7 สาเหตุหลักมาจากความต้องการในสินค้าประเภท แร่เหล็ก และถ่านหิน ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้ตลาดบรรทุกสินค้าแห้งเทกองนั้นเติบโตขึ้นมาก อันได้แก่ ความแออัดของท่าเรือในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย และระยะเวลาการเดินเรือที่ยาวนานมากขึ้น เป็นเหตุให้อุปสงค์และอุปทานค่อนข้างตึงตัว และอัตราค่าระวางเรือมีการปรับตัวไม่มากนัก ถึงแม้จะอยู่ในช่วงหน้าร้อนซึ่งปกติเป็นช่วงที่มีการขนส่งสินค้าน้อยกว่าฤดูอื่นๆ

นอกจากนี้ ตลาดเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองก็เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของปริมาณตันไมล์ด้วย (คือปริมาณการขนส่งสินค้า คูณด้วยระยะทาง) ประเทศจีนได้มีการนำเข้าแร่เหล็กจำนวน 187.9 ล้านตัน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 ซึ่งสูงกว่า 6 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 16.4 จีนได้กลายมาเป็นผู้นำเข้าถ่านหินสุทธิ ซึ่งหมายความว่าประเทศเพื่อนบ้านของจีนจะต้องหา แหล่งผลิตถ่านหินจากบริเวณที่ใช้ระยะเวลาเดินเรือที่ยาวขึ้น เช่น จากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย

ราคาเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมือสองในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเรือขนาด Supramax มือสอง อายุ 5 ปี มีราคา ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เท่ากับ 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อลำ ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก รวมทั้ง ราคาเรือที่สั่งต่อใหม่ (NewBuild) ก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องถึงแม้ว่าจะมีระยะเวลาส่งมอบนานขึ้นก็ตาม

ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) ("กลุ่มบริษัท เมอร์เมด") มีผลประกอบการ ที่ดีในไตรมาสนี้ ในส่วนงานเรือขุดเจาะ (drilling segment) สามารถสร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กลุ่มบริษัท เมอร์เมด ประมาณร้อยละ 32.10 และ 22.67 ตามลำดับ ของรายได้และผลกำไรทั้งหมดของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 และ เอ็มทีอาร์-2 ของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด ได้ปฏิบัติงานตามสัญญากับลูกค้า โดยเรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 นั้นได้ปฏิบัติงานเป็นเวลา 76 วัน ในช่วงต้นของไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550

...ต่อหน้า 4/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 4
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07017t/pc

 

ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการซ่อมแซมนั้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 79 วัน และ เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 จะกลับมาปฏิบัติงาน ได้ดังเดิมก่อนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 (ไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550) ทั้งนี้กลุ่มบริษัท เมอร์เมดได้บันทึกค่าใช้จ่ายอัน เกี่ยวเนื่องกับการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่เกิดอุบัติเหตุ และค่าใช้จ่ายในความรับผิดชอบความเสียหายส่วนต้นจากประกันภัย (deductibles) ไว้แล้วในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550

เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-2 ได้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 และ อีก 16 วัน ในไตรมาส ที่ 4 ของปีบัญชี 2550 ก่อนที่จะเริ่มงานในสัญญาฉบับใหม่ให้กับลูกค้า เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-2 จะเข้าอู่แห้งและเข้ารับการตรวจ สภาพตามระยะเวลาการตรวจสภาพทุก 5 ปี การตรวจสภาพนี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 101 วัน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของ สถาบันตรวจสภาพเรือ Bureau Veritas และ American Petroleum Institute การเข้าอู่แห้งและการตรวจสภาพของเรือ ขุดเจาะเอ็มทีอาร์-2 เพื่อทำให้เรือขุดเจาะดังกล่าวมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษา

จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จึงคาดว่าส่วนแบ่งรายได้และผลกำไรจากส่วนงานขุดเจาะ (drilling segment) จะลงลดในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550

ตลาดเรือขุดเจาะยังคงมีความแข็งแกร่งทุกประเภทและทุกชนิดที่เป็นเรือขุดเจาะที่เคลื่อนย้ายได้ (mobile offshore drilling units) ความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานั้นไม่มีผลกระทบต่ออุปสงค์ของบริษัทผู้ค้าน้ำมันในการ ใช้บริการเรือขุดเจาะนอกชายฝั่ง นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการสั่งต่อเรือขุดเจาะใหม่หลายลำ แต่อัตราค่าเช่าเรือขุดเจาะ ก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สภาวะตลาดของเรือขุดเจาะแบบ tender rig ยังคงดีอยู่ และอัตราค่าเช่าเรือที่เพิ่มสูงขึ้นต่อวัน สำหรับเรือขุดเจาะ แบบ jack-ups มีผลกระทบในเชิงบวกต่ออัตราค่าเช่าเรือขุดเจาะแบบ tender rig นอกจากนี้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายต่างๆ มักจะ ขอทำสัญญาล่วงหน้าก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการทราบปริมาณงานที่จะต้องทำและก่อให้เกิดการเติบโตทาง ธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดหวังว่าสภาวะแวดล้อมทางตลาดจะยังคงดีอย่างต่อเนื่อง

สินทรัพย์ในส่วนธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ มีอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือสูงถึงร้อยละ 86.81 ในระหว่างไตรมาส และสร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กลุ่มบริษัท เมอร์เมด ประมาณร้อยละ 67.30 และ 71.85 ตามลำดับของรายได้และผลกำไร ทั้งหมดของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด การสำรวจ การพัฒนา การบำรุงรักษาและปรับปรุงสภาพของโครงสร้างต่างๆ กลางทะเลมีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดี ทำให้เรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำทั่วภูมิภาค ต่างๆ ของโลกมีอัตราการใช้อย่างหนาแน่นมาก ซึ่งรวมถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

...ต่อหน้า 5/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 5
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07017t/pc

 

มีการคาดการณ์ว่า ตลาดธุรกิจบริการนอกชายฝั่งในอนาคตจะยังคงดีอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีกิจกรรมทางธุรกิจใน ระดับสูง ในปี 2550 - 2551 อุปสงค์ของเรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำคาดว่าจะสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณเรือที่ปฏิบัติ งานได้จะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงกิจกรรมการพัฒนาธุรกิจนอกชายฝั่งที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และแม้ว่าจะมีแรงกดดันในเรื่องราคาเรือสำรวจ และสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำที่มีราคาแพงและการส่งมอบเรือที่กินเวลานาน แต่จำนวนเรือที่มีการสั่งต่อใหม่ก็ยังคงมีตัวเลขค่อนข้าง สูง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบทางลบต่ออนาคตของอัตรากำไรที่สูงในขณะนี้

กลุ่มบริษัท เมอร์เมด มีส่วนแบ่งรายได้ให้กับบริษัทฯ จำนวน 1,150.57 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้กับ บริษัทฯ (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เท่ากับ 134.32 ล้านบาท โดยไม่รวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ สำหรับส่วนงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือนั้นมีส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้กับ บริษัทฯ (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เท่ากับ 42.92 ล้านบาท โดยไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี มีส่วนแบ่งกำไรให้กับบริษัทฯ สูงสุด รองลงมา ได้แก่ บริษัท ไอเอสเอส โทรีเซน เอเยนต์ซีส์ จำกัด ซึ่งมีรายได้จากการให้บริการและมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำนวนเรือที่ให้บริการเพิ่มขึ้น

หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแล้ว ในไตรมาสที่ 3 ของรอบปีบัญชี 2550 นี้ บริษัทฯ สามารถสร้างผลกำไรสุทธิสูงขึ้นจากเดิมห้าไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากกลยุทธ์การกระจายส่วนงานธุรกิจของ บริษัทฯ (diversification strategy) และความแข็งแกร่งของทั้งธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองและธุรกิจงานบริการ นอกชายฝั่ง

 

ขอแสดงความนับถือ
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

 

---------------------------
(ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต)
กรรมการผู้จัดการ
----------------------
(นางสาวนุช กัลยาวงศา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน