การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสังคม

กลุ่มบริษัทถือว่าการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียทั้งสังคมภายใน และสังคมภายนอก นำไปสู่ การสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ บริบททางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างคำนึงถึงการรับผิดชอบต่อสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการมุ่งมั่นให้สังคมเกิด การเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายตามมิติสังคม สร้างสุขภาวะที่ยั่งยืน ถือเป็นภารกิจหลักขององค์กรในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ (CSR-in-Process) และนอกกระบวนการหลักของการดำเนินธุรกิจ (CSR-after-Process) ในการดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในสังคมผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ พัฒนาความรู้และทักษะการทำงาน วัฒนธรรมความปลอดภัย ความปลอดภัยในสุขภาพในปัจจุบัน เป็นต้น

กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จึงได้จัดทำกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ เสริมทักษะความชำนาญ การรักษาพนักงานที่มีศักยภาพและการดูแลพนักงาน การจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญ การเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงการบริหารค่าตอบแทน การจัดสรรสวัสดิการ เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขและผูกพันต่อองค์กร และเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เป้าหมายที่ 3, 4, 5, 8 และ 9 นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เป้าหมายที่ 3, 4 และ 5

แนวทางปฏิบัติของกลุ่มบริษัทต่อสังคม
  • ผู้บริหารและพนักงานพึงมีส่วนร่วม หรือจัดให้มีกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ในการพัฒนาและบริการสังคม อาทิ กิจกรรมด้านการศึกษาและพัฒนาเยาวชน ด้านศาสนา ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ผู้บริหารและพนักงานต้องตรวจสอบติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ เพื่อลดผลกระทบด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  • ให้ความสําคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชนและ สิ่งแวดล้อมมุ่งสร้างสรรค์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์
  • ปลูกฝังจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้เกิดขึ้นในกลุ่มบริษัท และพนักงานทุกระดับ อย่างต่อเนื่อง
  • ให้ความร่วมมือและควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย มาตรฐาน และกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  • ตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการดําเนินงานของบริษัทฯ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

SDGs8
SDGs16

กลุ่มบริษัทเคารพความหลากหลายและปฏิบัติต่อทุกคนทั้งภายในและภายนอกองคืกรด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้กลุ่มบริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนากลไกด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนนธุรกิจ เพื่อขจัดการละเมิดแรงงานและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัท

สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่จะต้องได้รับความเสมอภาค เป็นธรรม เท่าเทียม และไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สีผิว เพศ ภาษา หรือสถานะอื่นใด ในปัจจุบันเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในกระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการผลิต และกระบวนการขนส่งหรือการให้บริการ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัทจึงตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งพนักงาน และคู่ค้า จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนช่วยกำกับดูแล พิจารณา ทบทวน ให้แนวทางในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์และนโยบาย และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรภายใต้หลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานในระดับสากล และกฎหมายของประเทศที่บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทฯ มีข้อบังคับและระเบียบเกี่ยวกับการทำงานที่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2553 นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชนขึ้นในปี 2562 โดยอ้างอิงหลักการด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล เช่น ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization (ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) เพื่อให้มีการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งพนักงาน คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ รวมไปถึงองค์กรอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการป้องกันและการลดผลกระทบ
ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน
  • มีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลรวมถึงเครื่องทุ่นแรง สำหรับพนักงานตามลักษณะ
  • เผยแพร่แนวปฏิบัติในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของพนักงาน
แนวปฏิบัติด้านแรงงาน สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี ของพนักงานของคู่ค้า
  • จัดทำและสื่อสารจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า
  • กำหนดให้คู่ค้ารายใหม่ต้องจัดทำแบบประเมินตนเอง

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการประเมินความเสี่ยง และแนวทางการบริหารจัดการได้ที่ หัวข้อ ปัจจัยเสี่ยง ภายในรายงาน 56-1 One Report ของบริษัทฯ

TTA

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้จัดการอาวุโสจากทุกกลุ่มธุรกิจและจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแลและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การตรวจสอบ การประเมินความเสี่ยง การอบรมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนไปยังหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียอื่น รวมถึงมีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและพัฒนากลไกการร้องเรียน เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล โดยนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ จะมีการบังคับใช้ครอบคลุมไปถึงบริษัทในทุกหน่วยธุรกิจให้ครอบคลุมการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร

กระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)

บริษัทฯ กำหนดให้มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ที่ครอบคลุมถึงพนักงานและคู่ค้า

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการพิจารณาประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนสำคัญที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จะไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

1. กำหนดขอบเขต: บริษัทฯ กำหนดขอบเขตกระบวนการตรวจสอบทางด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มั่นใจว่าได้ตรวจสอบประเด็นทางสิทธิมนุษยชนครอบคลุมพนักงานและคู่ค้า โดยพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิแรงงาน สิ่งแวดล้อม ประเด็นการบังคับใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก เป็นต้น
2. ระบุประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น: บริษัทฯ ทบทวนประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
3. ประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยพิจารณาเกณฑ์ขนาดความรุนแรงของผลกระทบและเกณฑ์โอกาสในการเกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ประกอบด้วยพนักงานของบริษัทฯ คู่ค้าและผู้รับเหมา ลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดระดับความรุนแรงของความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ สูงมาก (Extreme) สูง (High) ปานกลาง (Moderate) และต่ำ (Low) ซึ่งประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับปานกลางถึงสูงมากจะมีการพิจารณาทบทวนแนวทางการจัดการของบริษัทฯ ในปัจจุบัน ให้สอดคล้องกับผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับต่ำ
4. กำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทฯ พิจารณามาตรการดำเนินงานเพื่อจัดการประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการลดและควบคุมผลกระทบเพื่อให้อยู่ในระดับต่ำหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้
5. การติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน: กลุ่มงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องของบริษัทฯ จะทำหน้าที่ติดตามและทบทวนมาตรการทางด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ในแต่ละประเด็นที่ได้ดำเนินงานไปในทุกๆ ประเด็น อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นดังกล่าวถูกปรับปรุงและแก้ไขแล้ว
6. จัดให้มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน

ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 บริษัทฯ ได้จัดอบรมหลักสูตรทบทวนความรู้เกี่ยวกับนโยบายสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน ให้กับผู้บริหารและพนักงานเพื่อรับทราบและปฏิบัติ โดยมีผู้เข้าร่วมคิดเป็นร้อยละ 100 และ 72 ตามลำดับ และมีการเผยแพร่ผ่านระบบ Portal และเว็บไซต์ของบริษัทฯ

การยกระดับระบบกลไกข้อร้องเรียนและการเยียวยา
social-humanrights

บริษัทฯ มีกระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนต่างๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นและข้อกังวลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และสามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์โดยการปรึกษาหารือกับหัวหน้างานเป็นอันดับแรก หากยังแก้ปัญหาไม่ได้ พนักงานสามารถเสนอข้อร้องเรียนข้างต้นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไป โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องสอบสวนและพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน หากขั้นตอนที่ 2 ไม่เป็นผล พนักงานสามารถยื่นข้อร้องเรียนต่อฝ่ายบริหารภายใน 7 วัน เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริง ซึ่ง ฝ่ายบริหารพร้อมจะพิจารณาและดำเนินการด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม โดยผลการพิจารณาในขั้นนี้ถือเป็นที่สิ้นสุด พนักงานสามารถส่งข้อร้องเรียนหรือแสดงข้อคิดเห็นให้บริษัทฯ รับทราบผ่านช่องทางอีเมล whistleblowing@thoresen.com ทั้งนี้พนักงานสามารถแสดงข้อคิดเห็นผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ (คสส.) นอกเหนือจากเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงาน และจัดให้มีมาตรการเยียวยาสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ เคารพและให้ความสำคัญในความหลากหลายของบุคลากร โดยแบ่งเป็น 2 มิติหลัก ได้แก่ ระดับปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วย อายุ เพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ รสนิยมทางเพศ ความสามารถทางกายภาพ และระดับทุติยภูมิ ประกอบด้วยภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม การศึกษา ประสบการณ์ ทั้งนี้บริษัทฯ มิได้มีบรรทัดฐานในการคัดสรรบุคลากร โดยอ้างอิงจากมิติข้างต้น เนื่องจากบริษัทฯ มีความเชื่อว่าความแตกต่างของบุคลากรแต่ละคนจะเป็นตัวนำการขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปด้วยความหลากหลาย การดําเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมพนักงานทั้งหมด

ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่ได้รับรายงานเหตุการณ์หรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จำนวนบุคลากรทั้งหมดและความหลากหลาย
เพศ ประเภท 2564 2565 2566
ชาย ผู้บริหารระดับสูง 5 5 5
ผู้บริหารระดับกลาง 4 3 4
ผู้บริหารระดับต้น 6 12 8
พนักงาน (รวมผู้พิการ) 13 10 20
ลูกจ้าง 0 0 0
หญิง ผู้บริหารระดับสูง 1 1 1
ผู้บริหารระดับกลาง 5 11 8
ผู้บริหารระดับต้น 22 33 25
พนักงาน (รวมผู้พิการ) 26 16 37
ลูกจ้าง 0 0 0
รวมทั้งหมด 82 91 108
จำนวนพนักงานแบ่งตามอายุ
อายุ 2564 2565 2566
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
< 30 ปี จำนวนคน 3 8 11 3 14 17 2 16 18
ร้อยละ 3.7 9.8 13.4 3.3 15.4 18.7 1.9 14.8 16.7
30 – 50 ปี จำนวนคน 19 41 60 22 41 63 5 6 11
ร้อยละ 23.2 50.0 73.2 24.2 45.1 69.2 4.6 5.6 10.2
>50 ปี จำนวนคน 6 5 11 5 6 11 30 49 79
ร้อยละ 7.3 6.1 13.4 5.5 6.6 12.1 27.7 45.4 73.1
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

SDGs03
SDGs8
SDGs16

กลุ่มบริษัทมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานของพนักงานทุกคน ครอบคลุมถึงผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

กลุ่มบริษัทตระหนักดีว่าบุคลากรเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีต่างๆ สนับสนุนก็ตาม เรื่องความปลอดภัยเป็นประเด็นที่กลุ่มบริษัทคำนึงถึงอยู่เสมอตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึง การขนส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค จะต้องมีความปลอดภัยในทุกขั้นตอน ไม่ใช่เฉพาะความปลอดภัยของพนักงานเท่านั้น แต่รวมถึงคู่ค้า ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคลากรทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน กลุ่มบริษัทจึงมีนโยบายดูแลพนักงาน ผู้รับเหมา ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้มีสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัยมากที่สุด โดยยึดถือข้อกำหนดทางกฎหมายและมาตรฐานสากลมาเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการทำงาน การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และการมีสุขภาวะที่ดีของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย

  • กฎหมายกระทรวงแรงงานเรื่องการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี พ.ศ. 2549
  • พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปี พ.ศ. 2554
  • พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ ปี พ.ศ. 2554 เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยปี พ.ศ. 2555

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีความมุ่งมั่นในการลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ (Zero Accident) โดยบริษัทฯ และบริษัทในเครือ มีเป้าหมายในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมอย่างชัดเจน คือ

  • ลดอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน
  • ลดอัตราเสียชีวิตจากการดำเนินงานของพนักงาน

โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินการดังนี้

  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ โดยให้บุคลากรทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่นเป็นอันดับหนึ่ง ผ่านการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่ครอบคลุมทั้งพนักงานและผู้รับเหมา หรือผู้เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่
  • ส่งเสริมให้ผู้บังคับบัญชาทุกคนเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย แสดงให้พนักงานเห็นว่าบริษัทฯ คำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • วิเคราะห์ทบทวนมาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รวมถึงประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามลักษณะงาน เพื่อกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำและกำหนดข้อบังคับใช้ในการดำเนินงาน ได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และเปิดเผยผลการดำเนินงานอย่างครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อนำ มาพัฒนาแผนลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน และจัดอบรมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามลักษณะงาน
  • การตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานและระบบเอกสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการปฏิบัติ ตามข้อกำหนด กฎหมาย และมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
แนวทางการบริหารจัดการ
1. ควบคุมความปลอดภัยในสถานประกอบการทุกแห่งและทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในสถานที่ประกอบการถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญอย่างยิ่งของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้า และบุคคลภายนอกที่เข้ามาในสถานประกอบการ ทั้งที่สำนักงานใหญ่ บนเรือขนส่งสินค้า บนแท่นขุดเจาะน้ำมัน ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็น งานลำเลียงสินค้าลงเรือ งานสำรวจขุดเจาะน้ำมัน งานซ่อมบำรุง ฯลฯ จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) ให้รัดกุม เพื่อลดความรุนแรงหรือป้องกันไม่ได้เกิดการบาดเจ็บในการทำงาน เช่น ถุงมือ หมวกนิรภัย แว่นตาหรือหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นหรือสารเคมี เป็นต้น

2. จัดตั้งคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safe Working Environment Committee) ประกอบด้วยผู้แทนในระดับผู้บังคับบัญชาและผู้แทนในระดับพนักงาน เพื่อร่วมกันสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงพิจารณานโยบาย จัดทำแผนงาน และกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้สถานประกอบกิจการของบริษัทฯ

3. วางมาตรการควบคุมความเสี่ยง

มีการสำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อประเมินผลกระทบและทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยให้รัดกุมและครอบคลุม มากยิ่งขึ้น

โทรีเซน ชิปปิ้ง

กำหนดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนเรือสินค้าสำรวจอุบัติเหตุและจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยงโดยอ้างอิงสถิติด้านความบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่เชื่อถือได้ อาทิเช่น HOPM/12 และ SOPM/04 รวมถึงมีการจัด Toolbox Meeting โดยในแต่ละครั้งที่จะมีการปฏิบัติงานจะมีการประชุมย่อยเพื่อเตรียมงาน ทำการประเมินความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน ศึกษาแนวทางการป้องกัน จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังถือเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนเรือสินค้า ที่จะต้องอบรมและอธิบายนโยบายด้านความปลอดภัยให้บุคลากรทุกคนบนเรือทราบ โดยเฉพาะผู้ที่มาใหม่ที่จะต้องระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจาก วัตถุอันตราย ตลอดจนการประเมินข้อจำกัดด้านร่างกายของตนเองและน้ำหนักของสินค้าอย่างเหมาะสม รวมถึงเทคนิค การขนส่งลำเลียงสินค้าอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและความปลอดภัยของสินค้าที่ขนส่ง

เมอร์เมด

มีการจัดทำระบบจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Risk Management System) และกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาจะต้องอธิบายถึงวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยก่อนที่บุคลากรจะเริ่มปฏิบัติงานโครงการใหม่ทุกครั้งผ่านการจัดการประชุมด้านความปลอดภัย การปฐมนิเทศ และ Toolbox Talk โดยเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยจะต้องตรวจสอบชิ้นส่วนของเรือทุกชิ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับของพาณิชย์นาวี (Merchant Shipping Notices) รวมทั้งจะต้องสำรวจทั้งบริเวณปฏิบัติงาน และบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยลงแบบฟอร์มเป็นประจำทุกเดือน เพื่อนำไปวางแผนมาตรการด้านความปลอดภัยต่อไปและดำเนินการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในอนาคต

4. การรายงานและสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

บุคลากรทุกคนมีหน้าที่ร่วมมือกันในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยจะต้องช่วยดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน คำนึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต หากพบความบกพร่องหรือความผิดปกติใดๆ ต้องรีบแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของเหตุการณ์และรายงานต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องตามลำดับ และเมื่อพบว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความเสี่ยงที่จะไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ให้หยุดปฏิบัติงานบริเวณนั้นทันที แล้วรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยโดยเร็วที่สุด

เพื่อให้มาตรการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีมาตรฐานสูงสุด บริษัทฯ ยังมีแผนการประเมินการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต้องทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบปี เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินนโยบายอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร

5. การพัฒนาความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

โดยจัดให้มีการอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกรายตามความจำเป็นของแต่ละลักษณะงานและสอดคล้องกับกฎหมาย เช่น วิธีการป้องกันและควบคุมอัคคีภัยในสถานประกอบการ การป้องกันอันตรายจากโรคจากการทำงาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ข้อบังคับ IMDG Code เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายทางทะเล (International Maritime Dangerous Goods Code: IMDG-Code. IMDG-Code) เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเพียงพอ

6. การส่งเสริมสุขภาพที่ดี

โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพสำหรับพนักงานเข้าใหม่ การตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานทุกคนตามปัจจัยเสี่ยงในงานและเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการปฏิบัติงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพของปอด และหัวใจ การตรวจสอบสมรรถภาพทางการได้ยิน นอกจากนี้ ยังดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพที่หลากหลาย เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกายโดยจัดพื้นที่สำนักงานส่วนหนึ่งเป็นห้องฟิตเนสที่มีอุปกรณ์ครบครัน

7. การป้องกันและลดผลกระทบในห่วงโซ่คุณค่า

โดยกำหนดให้ทุกบริษัทในเครือ และบริษัทฯ มีระบบการบริหารจัดการและกำกับดูแลผู้รับเหมา (Contractor Management System) ครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือกผู้รับเหมา การบริหารจัดการผู้รับเหมา ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานประกอบการและในขั้นตอนการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ ยังมีแนวทางปฏิบัติของกลุ่มอุตสาหกรรมเรือที่เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้

  • W.H.M.I.S. (Workplace Hazardous Materials Information System) ว่าด้วยสารป้องกันอันตรายในสถานประกอบการ
  • IMO (International Maritime Organization) กฎระเบียบข้อบังคับและข้อควรปฏิบัติระหว่างประเทศที่กำหนด โดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
  • ISO 9001 มาตรฐานระบบการจัดการบริหารงานคุณภาพ
  • ISO 14001 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • OHSAS 18001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • SOLAS (Safety of Life at Sea) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลเป็นสนธิสัญญาทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำในการก่อสร้าง อุปกรณ์ และ การดำเนินงานของเรือเดินทะเล

กฎระเบียบและข้อกำหนดเหล่านี้มีการบังคับใช้ทั้งบนเรือและที่สำนักงานใหญ่เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฎิบัติงานเดินเรือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

TTA

บริษัทฯ มีการดำเนินการในเรื่องอาชีวอนามัย ไม่ว่าจะเป็นด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของพนักงาน มีการตรวจวัดและควบคุมสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้อยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาวะอนามัยของพนักงาน โดยมีกิจกรรม 5 ส ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย อันจะนำไปสู่ การสร้างพื้นฐานความปลอดภัยในการทำงานและมุ่งไปสู่อุบัติเหตุเป็นศูนย์

การดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

TTA สำนักงานใหญ่ มีการดูแลด้านความปลอดภัยโดยแผนกธุรการ โดยตั้งเป้าหมายในปี 2566 อัตรา การบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR) เท่ากับ 0 ครั้ง ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยแผนงานการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยในองค์กรผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ อีเมลเวียน และระบบ Portal ของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังมีการอบรมทบทวนความรู้ให้กับพนักงานใหม่ และพนักงานเดิมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุกปี รวมถึงบริษัทฯ มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับบริษัทฯ

จำนวนครั้งที่เกิดการบาดเจ็บ
ประเภทการบาดเจ็บ จำนวน (ครั้ง)
2564 2565 2566
พนักงาน ผู้รับเหมา พนักงาน ผู้รับเหมา พนักงาน ผู้รับเหมา
อัตราการบาดเจ็บ (IFR) 0 0 0 0 0 0
อัตราความรุนแรงของ การเกิดอุบัติเหตุ (ISR) 0 0 0 0 0 0
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR) 0 0 0 0 0 0
อัตราการบาดเจ็บรุนแรงสูง (ไม่รวมเสียชีวิต) 0 0 0 0 0 0
จำนวนอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต 0 0 0 0 0 0
การสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การอบรมในหัว ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2566
จำนวนหลักสูตรที่อบรม 2
จำนวนผู้บริหารที่เข้าร่วม (ร้อยละ) 50
จำนวนพนักงานที่เข้าร่วม (ร้อยละ) 72
ข้อร้องเรียน

ในปี 2566 ไม่มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

โทรีเซน ชิปปิ้ง

โทรีเซน ชิปปิ้ง ดำเนินธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าแห้งเทกอง ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายจากวัตถุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างที่บุคลากรปฏิบัติงานบนเรือ จึงได้จัดวางมาตรการ ด้านความปลอดภัย โดยอ้างอิงตามข้อกำหนดว่าด้วยสารป้องกันอันตรายในสถานประกอบการ (Workplace Hazardous Materials Information System) และมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและอนุสัญญาต่างๆ ที่กำหนดโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) อย่างครบถ้วน กฎระเบียบข้อบังคับและข้อกำหนดเหล่านี้ มีการบังคับใช้ทั้งบนเรือและที่สำนักงานใหญ่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฎิบัติงานเดินเรือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยของเรือทุกลำประกอบด้วยหัวหน้าส่วน นายประจำเรือจากแต่ละแผนก โดยมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 7 คน ซึ่งในการประชุมทุกครั้งจะมีรายงานสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานส่งให้ผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องรับทราบเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรือทุกลำของบริษัทมีการบริหารจัดการและดูแลด้านความปลอดภัยให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานบนเรือ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการจัด Tool Box Meeting โดยในแต่ละครั้งที่จะมีการปฏิบัติงานจะมีการประชุมย่อยเพื่อเตรียมงาน ทำการประเมินความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงศึกษาแนวทางการป้องกัน จัดเตรียมเครื่องมือเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานอีกด้วย

หัวข้อการละเมิด 2565 2566
เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
การละเมิดประมวลข้อบังคับว่าด้วยการบริหารจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ (ISM/1 Code) ความไม่สอดคล้อง 0 0 0 7
ข้อสังเกต 0 0 5 0
การละเมิดประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือ และท่าเรือระหว่างประเทศ (ISPS/2 Code) ความไม่สอดคล้อง 0 0 0 0
ข้อสังเกต 0 0 0 0

/1 ISM = International Safety Management

/2 ISPS = International Ship and Port Facility Security

โครงการอบรมบุคลากรพาณิชยนาวี

โทรีเซน ชิปปิ้ง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของบุคลากรประจำเรืออย่างต่อเนื่อง โดยการมีการจัดการอบรมและมีการจัดเก็บข้อมูลใน Training Record Book และระบบฐานข้อมูลของบริษัทโครงการอบรมบุคลากรพาณิชยนาวี ช่วยเพิ่มพูนความรู้ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนการดูแลและรักษาสภาพแวดล้อมบนเรือของบุคลากรบนเรือให้มีมาตรฐานระดับสากลเป็นมืออาชีพ ซึ่งหลักสูตรเนื้อหาในการอบรมจะมุ่งเน้นประเด็นกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น ISM, STCW, SOLAS และ MAPOL ตลอดจนการสร้างความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย ขั้นตอนการทำงาน การป้องกันมลภาวะสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการซ้อมการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย โดยหลักสูตรอบรม ได้แก่ การอบรม ISPS Drill, ECP (Emergency Contingency Plan) Drill, Grounding & Oil Spill, Fire, Collision และอื่นๆ โดยแต่ละเดือนจะมีการอบรมทั้งหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน โดยบุคลากรบนเรือจะต้องได้รับการอบรมหลักสูตรตามที่บริษัทกำหนด ซึ่งนายเรือจะมีบทบาทสำคัญให้การนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะบุคลากรประจำเรืออย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

การฝึกอบรมการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรประจำเรือ ถือเป็นข้อบังคับที่บุคลากรประจำเรือต้องปฏิบัติเมื่อลงปฏิบัติงานในเรืออย่างเป็นทางการ และการดำเนินงานเช่นนี้ เป็นการยืนยันว่า บุคลากรที่ประจำเรือทุกลำของโทรีเซน ชิปปิ้ง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงานและมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย

เมอร์เมด

ผู้เสียชีวิต (จำนวน) 2564 2565 2566 เป้าหมาย มาตรฐาน
พนักงาน 0 0 0 0 GRI 403-9
ผู้รับเหมา 0 0 0 0
แรงงาน 0 0 0 0
การบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีผลกระทบสูง (ความถี่)
พนักงาน 0 0 0 0.65 GRI 403-9
ผู้รับเหมา 0 0.31 0 0.65
แรงงาน 0 0.31 0 0.65
การบาดเจ็บจากการทำงาน (ความถี่)
พนักงาน 0 0 0 น้อยกว่า 2.0 GRI 403-9
ผู้รับเหมา 1.68 0.61 0 น้อยกว่า 2.0
แรงงาน 1.68 0.61 0 น้อยกว่า 2.0
สุขภาพการเจ็บป่วยจากการทำงาน (ความถี่)
พนักงาน 0 0 0 0 GRI 403-9/IMA/MARPOL
ผู้รับเหมา 0 0 0 0
แรงงาน 0 0 0 0
การพัฒนาทุนมนุษย์

การพัฒนาทุนมนุษย์

SDGs03
SDGs04
SDGs05
SDGs08
SDGs10
SDGs16

กลุ่มบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้พนักงานทุกคนและทุกระดับได้รับ การพัฒนาให้เป็นคนเก่ง และมีทัศนคติที่ดี รวมทั้งมีทักษะ ความรู้ และความสามารถที่เท่าทันสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผ่านวัฒนธรรม การเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนให้บรรลุผลสำเร็จ และพัฒนาองค์กรสู่อนาคตที่ยั่งยืน

บริษัทฯ ตระหนักถึงบุคลากรซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพนับว่าเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ นอกเหนือไปจากการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เช่น การมีสวัสดิการรองรับและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน รวมถึงการให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจแก่พนักงานเพื่อช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถไว้กับองค์กรได้ ทั้งนี้การดำเนินงานด้านการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องมีการวัดผลได้อย่างชัดเจน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคคลของบริษัทฯ ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแผนการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

นโยบายและการจัดการ

กลุ่มบริษัทมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเที่ยงธรรมและเหมาะสม สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือได้มีการจัดทำนโยบายด้านแรงงานสำหรับบุคลากรที่ทำงานนอกชายฝั่ง (Fatigue Policy) และดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานจะดำเนินการวัดผลใน 3 ส่วน ได้แก่

  1. การวัดผลการดำเนินธุรกิจ (Corporate KPI)
  2. การวัดผลงานรวมแผนกและแต่ละบุคคคล (Department KPI & Individual KPI)
  3. การวัดความสามารถหลักของแต่ละบุคคลในด้านต่าง ๆ (Core Competency)

นอกจากการวัดผลทั้ง 3 ส่วนแล้ว ยังมีการสำรวจแผนพัฒนาของแต่ละบุคคล เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา จัดทำแผนฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพในปีถัดไปให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ของพนักงาน

แนวทางการบริหารจัดการด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

กลุ่มบริษัทมีการจัดทำแผนการพัฒนาความสามารถและยกระดับศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ โดยการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ตรงกับสายงานของบุคลากร เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในตำแหน่งงานได้อย่างสูงสุด พร้อมกับการให้โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติต่อทุกคน รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจด้วยผลตอบแทนในรูปแบบของเงินเดือน เงินรางวัลประจำปี (โบนัส) ประกันสุขภาพ สวัสดิการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าทำงานล่วงเวลา จำนวนวันพักร้อนที่เพิ่มขึ้นตามอายุงานและรางวัลแก่พนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯ ในระยะยาวอย่างเหมาะสม และการมีตำแหน่งรองรับการย้ายสายงานตามความสมัครใจ เพื่อขยายการเติบโตของสายงานในองค์กร อีกทั้งช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงานที่มีความสามารถ การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรและเพิ่มความความผูกพันต่อองค์กรอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ และกลุ่มบริษัท มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์สากล และเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนตลอดจนห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรตามแนวทางปฏิบัติกำหนดไว้

ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

TTA

การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของบริษัทฯ

บริษัทฯ มีแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ที่สอดคล้องกับความต้องการของพนักงาน แต่ละบุคคลและสอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • จัดให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมและเข้าร่วมสัมมนา เพื่อเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น Board Nomination & Compensation Seminar, AACP Training Program, Financial Model 3Financial Projection, review PDPA and Anti-Corruption program Certificated Internal Audit Review, Financial Modeling with Microsoft Excel, Important Finances for Accountants, TFRS for year 2566 and Corporate Fraud Controls & Detection, IIAT Annual Conference 2566, Investment Analysis and Management Training, Basic Enneagram Workshop รวมถึงหลักสูตรการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด
  • การอบรมหลักสูตรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากองค์กรภายนอก ผู้เข้ารับการอบรมคือพนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยตรง และคณะทำงานด้านความยั่งยืน เพื่อนำความรู้และแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ได้รับจากการอบรม มาปรับปรุงใช้ภายในบริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืนอย่างแข็งแกร่ง
การประเมินความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงาน

บริษัทฯ มีการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement and Satisfaction Survey) และคัดกรองประเด็นหารือต่างๆ ก่อนนำประเด็นเหล่านั้นไปพิจารณา เพื่อดำเนินการปรับปรุงและพัฒนา พร้อมติดตามดูแลบุคลากรในแต่ละกลุ่มธุรกิจหรือกลุ่มงานได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ประเด็นด้านการบริหารอัตรากำลังให้เหมาะสมกับแผนการเติบโตทางธุรกิจ การพัฒนาพนักงาน (Learning and Development) การสนับสนุนการโยกย้ายเพื่อการพัฒนา (Job Rotation for Development) และการส่งเสริมด้านการเรียนรู้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ

บริษัทฯ กำหนดการประเมินความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานเป็นการสำรวจแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งกำหนดความถี่ในการสำรวจ 2 ปี/ครั้ง

บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายในการประเมินความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงาน โดยความพึงพอใจมากกว่า ร้อยละ 70 และความผูกพันมากกว่าร้อยละ 60 ผลการประเมินความพึงพอใจของพนักงานในปี 2567 เป็นผลการประเมินระหว่างปี 2566 – 2567 โดยการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายคือพนักงานทุกระดับ ซึ่งทุกคนสามารถร่วมตอบแบบสำรวจผ่านระบบออนไลน์ได้ และมีสัดส่วนพนักงานที่ตอบแบบสำรวจร้อยละ 55.56 บริษัทฯ ดำเนินการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานผ่าน 2 หัวข้อหลัก 7 หัวข้อย่อย และผลการสำรวจมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ความพึงพอใจ : ร้อยละ 78.72
  2. ความผูกพัน : ร้อยละ 72.75

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการสื่อสารผลการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ และอีเมลเวียน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567

ตารางแสดงผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ
การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
2564 2565 2566
ด้านการฝึกอบรมพนักงาน
เป้าหมายด้านการฝึกอบรมพนักงาน 10 5 5
จำนวนชั่วโมงการอบรมเฉลี่ย (ชั่วโมง/คน/ปี) 3.78 6.91 6.87
จำนวนหลักสูตรที่ได้อบรมในปี 21 22 30
ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
จำนวนพนักงานที่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากการเข้าร่วมโครงการ MAX Performance Plan (ร้อยละ) 100 100 100
ด้านการรักษาและจูงใจพนักงาน
อัตราการลาออกของพนักงาน (ร้อยละ) 23.60 4.65 15.74
จำนวนพนักงานที่ลาออกจำแนกตามเพศ
  • ชาย (คน)
7 1 12
  • หญิง (คน)
11 9 3
อัตราการจ้างพนักงานใหม่ (ร้อยละ) 20.03 4.15 16.24
จำนวนพนักงานใหม่จำแนกตามเพศ
  • ชาย (คน)
6 6 15
  • หญิง (คน)
13 12 21
ค่าใช้จ่ายในการอบรม (บาท) 135,973 381,682 482,463
การให้ความคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองสภาพการทำงานของลูกจ้าง
  • จัดทำและปรับปรุงคู่มือระเบียบข้อบังคับในการทำงานตามความเหมาะสมกับสถานการณ์พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2548 รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • จัดให้มีเงื่อนไขการจ้างงานที่เป็นธรรมสำหรับพนักงานและให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามศักยภาพ
  • การจัดสวัสดิการการดูแลครรภ์และการลาคลอด โดยที่พนักงานสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพและแบ่งเวลาให้แก่ครอบครัวได้เช่นเดียวกัน
  • จัดหาสถานที่ทำงานที่เหมาะสมให้พนักงาน
  • กำหนดระเบียบการจ่ายค่าจ้างการทำงานล่วงเวลาที่สมเหตุสมผล มีวันพักผ่อนประจำสัปดาห์และวันลาพักร้อนประจำปี
การประเมินผลปฏิบัติงานของพนักงาน
การประเมินที่เป็นระบบ โปร่งใส และเป็นธรรม
  • กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงานทุกระดับ (MAX Performance Evaluation) โดยผ่านขั้นตอน MAX Performance ได้แก่ การวางแผนและกำหนดเป้าหมายประจำปี (Performance Planning) ติดตามและทบทวนปฏิบัติงานระหว่างปี (Mid-Year Review) และติดตามและสรุปผลการปฏิบัติงานทั้งปี (Year-End Review) ทั้งนี้ กำหนดให้หัวหน้างานและพนักงานมีการพูดคุยเรื่อง การปฏิบัติงานและแผนการพัฒนาความรู้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ตาม MAX Performance Cycle
  • มีมาตรการปรับปรุงคุณภาพของพนักงานที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อให้โอกาสในการปรับปรุงโดยพนักงานจะต้องเข้ารับการอบรมในโครงการที่เรียกว่า Performance Plan ซึ่งการอบรมมี 2 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งมีระยะเวลา 3 เดือน

เพื่อการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงพนักงานทุกคนมากยิ่งขึ้น บริษัทฯ จึงจัดให้มีช่องทางในการนำส่งข้อร้องเรียนมายังคณะกรรมการตรวจสอบ โดยผ่านช่องทางเว็บไซต์หรือตู้ปณ. สำหรับพนักงานที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ทำการจัดตั้งกลุ่มผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สำหรับพนักงาน เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์โครงการและสวัสดิการต่างๆ อีกด้วย

นอกจากนี้บริษัทฯ มีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนพนักงาน เพื่อร่วมประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี เพื่อจัดสวัสดิการที่ดี และเหมาะสมตามข้อกำหนดและกฎหมายแก่ลูกจ้าง ให้คำปรึกษาหารือและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง ตรวจตรา ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง รวมทั้งเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน

โครงการ Long-Service Awards

บริษัทฯ ตระหนักและเห็นคุณค่าของพนักงานที่ทำงานร่วมกับบริษัทฯ มาโดยตลอด เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงาน บริษัทฯ จึงมอบรางวัลอายุการทำงานครบรอบ 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี 25 ปี เป็นจำนวนเงิน 10,000 20,000 40,000 60,000 และ 80,000 บาทตามลำดับ โดยพนักงานที่ครบรอบอายุงานครบ 30 และ 35 ปี ได้รับรางวัล 100,000 บาท

ข้อร้องเรียน

ในปี 2566 ไม่พบข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

โทรีเซน ชิปปิ้ง

โทรีเซน ชิปปิ้ง เล็งเห็นถึงความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งทำให้การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนประจำเรือกับพนักงานประจำสำนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนประจำเรือผ่อนคลายและมีความสุขในช่วงระหว่างการปฏิบัติงานในท้องทะเล บริษัทจึงมีการจัดการให้บริการอินเทอร์เน็ตบนเรือ ขณะอยู่กลางมหาสมุทรก็สามารถสื่อสารผ่านช่องทางนี้ได้เหมือนกับอยู่ที่บ้าน และจัดกิจกรรมผ่านสังคมออนไลน์ โดยการจัดทำโครงการรูปแบบต่างๆ ให้พนักงานประจำเรือได้ร่วมกิจกรรม ได้แก่

โครงการ Seafarer English

บริษัทมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพคนเรือ โดยการจัดทำโครงการ “Seafarer English” เพื่อให้คนประจำเรือได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษผ่านรูปแบบโครงการที่มีความสนุก น่าสนใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ โดยมีการจัดหลักสูตรการสอนโดยอาจารย์ที่มีทักษะความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมาสอนให้กับคนประจำเรือผ่านช่องทางออนไลน์ ในปี 2566 มีผู้เข้าอบรมและสำเร็จหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 40 คน

โครงการ Blink Application

Blink application เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานประจำเรือทุกลำกับพนักงานประจำสำนักงาน รวมถึงพนักงานประจำเรือที่อยู่ในช่วงระหว่างพักประจำการบนเรือ ทำให้สามารถทำงานได้อย่าง บูรณาการ สามารถติดต่อสื่อสาร พูดคุย แสดงความคิดเห็น แชร์ประสบการณ์ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ซึ่งช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว

การพัฒนาและมีส่วนร่วมกับสังคม

การพัฒนาและมีส่วนร่วมกับสังคม

SDGs03
SDGs04
SDGs05
SDGs08
SDGs14

กลุ่มบริษัทมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคมผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ (CSR-in-Process) และ นอกกระบวนการหลักของการดำเนินธุรกิจ (CSR-after-Process) ใน การดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในสังคมผ่านการดำเนินโครงการที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มบริษัทตระหนักดีว่า ชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในภาคธุรกิจ ภาคสังคม และภาคเศรษฐกิจระดับประเทศ ในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับชุมชน อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจโดยปราศจากการสร้างผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อชุมชน และร่วมพัฒนาชุมชนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้กลุ่มบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น ได้รับความร่วมมือ หรือการอำนวยความสะดวกจากชุมชนแล้ว ยังเป็นการยกระดับโครงการการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับสังคมโดยการสร้างคุณค่าผ่านผู้มีส่วนได้เสียอีกด้วย

กลุ่มบริษัทมีนโยบายปลูกจิตสำนึกแห่งการคืนกลับสู่สังคมให้เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2558 โดยสามารถดูรายละเอียดพันธกิจขององค์กรเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thoresen.com/th/about-tta/vision-mission นโยบายนี้ครอบคลุมถึงผู้บริหารและพนักงานทั้งในบริษัทฯ และบริษัทในเครือ การคืนสู่สังคมไม่ได้จำกัดเพียงเงินบริจาค แต่รวมถึงเวลา แรงงาน กระบวนการทำงาน และการสำนึกรู้รับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจ รวมไปถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนที่บริษัทฯ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย นอกจากนั้น การสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน สังคม และประเทศต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย กลุ่มบริษัทนําเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ด้านส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการบรรเทาทุกข์และสาธารณกุศล พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดความตระหนักรู้และความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ จนนําไปสู่การร่วมสร้างสังคมสู่ความยั่งยืน

โครงการในปี 2566

1. ด้านการศึกษา
1. Education Promotion

แอปพลิเคชัน BuddyThai ช่วยเยาวชนที่โดนกลั่นแกล้ง (Bully หรือ บูลลี่)

education
education
education
education

TTA ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน “Buddy Thai” ให้เป็นแพลตฟอร์มช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนบูลลี่ในสังคมไทย ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ จัดกิจกรรม “Buddy Thai โดนบูลลี่ มาหาบัดดี้” ภายใต้โครงการ “CYC Plus รู้รักในวัยเรียน” ที่ต้องการสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการป้องกันการกระทำความรุนแรง และแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ใน การป้องกันตนเองและการช่วยเหลือผู้อื่น ผ่านการอบรมและการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่จะช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนให้รู้เท่าทันถึงปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจได้

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สะท้อนเจตนารมณ์และความตั้งใจของบริษัทฯ ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกและรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนตระหนักรู้เรื่องพฤติกรรมการบูลลี่ การรู้เท่าทันอารมณ์ และการป้องกันการกระทำความรุนแรงในทุกมิติ รวมถึงส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักช่องทางการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์การถูกกลั่นแกล้งรังแกผ่านการใช้งานแอปพลิเคชัน “BuddyThai ซึ่งมีคุณสมบัติและฟังก์ชันที่ออกแบบมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่เด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ซึ่งมีจุดเด่น 3 ประการ คือ

  1. มีปุ่มขอคำปรึกษากับนักจิตวิทยาได้โดยตรง เพื่อให้เด็กและเยาวชน สามารถกดปุ่มนี้ เพื่อติดต่อถึงสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต และสายด่วน 1300 ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือเลือกปรึกษากับนักจิตวิทยาผ่าน Facebook ของกรมสุขภาพจิต ผ่านนักจิตวิทยาและอาสา LoveCare Station ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ รวมถึงผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ Because We Care และผ่าน Facebook ของ BuddyThai App ก็ได้เช่นกัน
  2. มีแบบประเมินตนเอง ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมถึงมีชุดความรู้และแบบฝึกหัดทักษะการใช้ชีวิต ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่าจะต้องรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อโดนบูลลี่ พร้อมมีคำแนะนำดีๆ จากนักจิตวิทยาที่เชื่อถือได้
  3. มีระบบบันทึกข้อมูลอารมณ์ในแต่ละวัน เด็กและเยาวชนสามารถเข้ามาบันทึกอารมณ์ของตัวเองได้ทุกวัน และ วันละหลายๆ ครั้ง รวมถึงสามารถระบุสาเหตุได้ด้วย โดยข้อมูลอารมณ์จะบันทึกเป็นสถิติรายสัปดาห์และรายเดือน ทำให้เด็กและเยาวชนตรวจสอบได้ว่า ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตนเองมีอารมณ์หนักไปทางด้านใด เพราะอะไร โดยในแอปพลิเคชันจะมีเทคนิคการจัดการอารมณ์ให้เด็กและเยาวชนอ่านด้วยตนเอง ในขณะที่ หากพบว่าเด็กและเยาวชนคนไหนบันทึกว่ามีอารมณ์เครียด หรือซึมเศร้าติดต่อกันเป็นสัปดาห์ และมีแนวโน้มคิดฆ่าตัวตาย ทีมผู้ดูแลระบบก็จะเฝ้าสังเกตเด็กและเยาวชนคนนี้อย่างใกล้ชิด และสามารถแจ้งไปยังโรงเรียนและคุณครู หรือนักจิตวิทยาสายด่วนในการติดต่อเชิงรุกได้

ปัจจุบันแอปพลิเคชัน “BuddyThai” นำร่องให้นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ดาวน์โหลดใช้งานก่อน นอกจากนี้ยังมีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์แอปพลิเคชันให้แก่นักเรียนโรงเรียนในต่างจังหวัดด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.buddy4thai.com และ Facebook page BuddyThai App

โครงการทุนการศึกษาแก่บุตร-ธิดาพนักงานประจำเรือ

เป็นเวลากว่า 21 ปี สำหรับโครงการ Thoresen Maritime Awards ที่โทรีเซน ชิปปิ้ง จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่บุตรธิดาพนักงานประจำเรือที่มีความประพฤติดีและผลการเรียนดี นอกจากเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานประจำเรือแล้ว ยังช่วยส่งเสริมและขยายโอกาสทางการศึกษาให้บุตรธิดาของพนักงานให้เติบโตเป็นคนเก่งและคนดีของสังคมต่อไป และในปี 2566 มีบุตรธิดาของพนักงานที่ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนจำนวน 30 ทุน รวมเป็นเงินทุนการศึกษาทั้งสิ้น 255,000 บาท

education

กิจกรรม Maritime Awards

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับพนักงานประจำเรือที่มีผลงานดีเด่นในปีปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเชิงคุณภาพทั้งในส่วนของพนักงานประจำเรือและตัวเรือจนถึงพนักงานประจำสำนักงานของบริษัท และยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างพนักงานประจำเรือกับพนักงานประจำสำนักงานของบริษัท โดยการมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรหลานของพนักงานประจำเรือชั้นลูกเรือที่มีผลการเรียนดี ตรงตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด เพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาของเยาวชน และลดภาระค่าครองชีพบางส่วนให้กับพนักงานประจำเรือ

โครงการการพัฒนาบุคลากรพาณิชย์นาวีระดับมืออาชีพ

โทรีเซน ชิปปิ้ง ร่วมกับสถานประกอบการเครือข่ายพาณิชย์นาวี 11 แห่ง ได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในการพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีระดับมืออาชีพให้กับประเทศไทย โดยบริษัทจะร่วมพัฒนาหลักสูตรธุรกิจพาณิชย์นาวีแบบทวิภาคี และตั้งเป้าหมายที่จะผลิตนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้และทักษะสอดคล้องกับ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือ พร้อมเปิดโอกาสฝึกงานบนเรือของโทรีเซน ชิปปิ้ง และเมื่อจบการศึกษาสามารถพิจารณารับเข้าทำงานได้ทันที

education

โครงการการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ

โทรีเซน ชิปปิ้ง พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา-กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษา 2567

โครงการปั้นคนครัวบนเรือทะเล

TTA ใส่ใจกับคุณภาพชีวิตของพนักงานที่ปฏิบัติบนเรือขนส่งสินค้า โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่จะต้องได้คุณภาพและถูกหลักอนามัยที่ดี ซึ่งจะต้องจัดเตรียมโดยกุ๊กมืออาชีพที่จบหลักสูตรทางด้านงานบริการจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่ม (Catering) สำหรับพนักงานบนเรือเท่านั้น ดังนั้น โทรีเซน ชิปปิ้ง ได้ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) สาขาประกอบอาหารในเรือเดินระหว่างประเทศตามหลักโภชนาการขึ้นมา เพื่อผลิตบุคลากรคนครัวบนเรือเดินทะเลในระดับมืออาชีพ โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และการปฏิบัติจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถเลือกทำงานต่อกับโทรีเซน ชิปปิ้ง ได้ทันที ซึ่งโครงการปั้นคนครัวบนเรือทะเลนี้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 และหลักสูตรนี้เป็น 1 ใน 50 สาขาที่ได้รับ คำชื่นชมจากกระทรวงศึกษาธิการและอาชีวศึกษา จึงนับเป็นความสำเร็จเป็นอย่างสูงของโทรีเซน ชิปปิ้ง เพราะไม่เพียงแต่จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานกับบริษัทฯ แต่ยังได้สร้างบุคลากรชั้นเยี่ยมสู่ตลาดแรงงานในธุรกิจชิปปิ้งอีกด้วย ปัจจุบันมีนักศึกษาที่จบหลักสูตรทั้งหมด 8 รุ่น จำนวนมากกว่า 120 คน

education

โครงการรับนักศึกษาฝึกงาน

โทรีเซน ชิปปิ้ง จัดโครงการรับนักศึกษาฝึกงานเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักศึกษาสายพาณิชย์นาวีได้ฝึกงานในสถานประกอบการจริงและเป็นการเสริมสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมเดินเรือของประเทศไทย ในปี 2566 บริษัทได้รับนักศึกษาจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีเข้าฝึกงานฝ่ายห้องเครื่องและฝ่ายเดินเรือเป็นจำนวนกว่า 20 คน โดยนักศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีจะได้รับโอกาสเข้าทำงานกับบริษัทต่อไป ในปีที่ผ่านมา มีนักศึกษาที่ผ่านการฝึกงานได้กลับมาร่วมงานกับบริษัททั้งหมด 15 คน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการจัดหาบุคลากร ลดขั้นตอนของการสัมภาษณ์งาน ประหยัดต้นทุนในการลงประกาศงานผ่านเว็บไซต์หางาน และประหยัดเวลาด้านการฝึกสอนงาน

นอกจากนี้ โทรีเซน ชิปปิ้ง ยังคงจัดกิจกรรมและดำเนินงานในโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานประจำเรือ และพนักงานประจำสำนักงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร รวมถึงเพื่อกระตุ้นความมีส่วนร่วมในการดูแล ความรับชอบร่วมกัน ทั้งในองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม

โครงการ 3ม. ของ PHC และ STC

เนื่องด้วยพันธกิจของบริษัทที่ต้องการคืนกลับสู่สังคมและสิ่งแวดล้อม PHC ซึ่งเป็นผู้บริหารเฟรนไชส์ร้านพิซซ่า ฮัท และ STC ซึ่งเป็นผู้บริหารเฟรนไชส์ร้าน ทาโก้ เบลล์ ในประเทศไทย บริษัทเริ่มรับนักศึกษาฝึกงานจากเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก และมีแผนการขยายไปในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศในอนาคต โดยนักศึกษาระดับชั้น ม.6 ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของบริษัทจะเข้ารับการฝึกงานที่ร้านพิชซ่า ฮัทสาขาต่างๆ และได้รับค่าตอบแทนเป็นรายได้ต่อชั่วโมงการทำงาน ค่าที่พักต่อเดือนและทุนการศึกษาตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ฝึกงาน การเข้าร่วมโครงการ 3ม. เปิดโอกาสให้บริษัทได้คัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาเป็นบุคลากรของบริษัทได้เมื่อเรียนจบหลักสูตร รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในสังคมเพื่อลดอัตราการว่างงาน และส่งเสริมให้เกิดคุณภาพที่ชีวิตที่ดีของนักศึกษาหลังเรียนจบ

education

ในปี 2566 มีนักศึกษาจากโครงการนี้เข้ามาฝึกงานที่ร้าน พิซซ่า ฮัท และร้านทาโก้ เบลล์ จำนวน 19 คน และ 10 คน ตามลำดับ โดยนักศึกษาทำสัญญา จ้างงานและสัญญาฝึกอาชีพหลักสูตรระยะยาว 2 ปี สามารถทำงานได้เต็ม 8 ชั่วโมงต่อวันใน 6 วันต่อสัปดาห์ และสามารถจัดช่วงเวลาทำงานได้ตามความเหมาะสม ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรแล้วมีโอกาสเติบโต

นอกจากความร่วมมือกับสถานศึกษาในโครงการ 3ม. แล้ว PHC ยังคงมุ่งสร้างพันธมิตรทางการศึกษา สนับสนุนการศึกษาและการอบรม ให้กับนักศึกษากลุ่มสหกิจศึกษาให้ได้รับความรู้และทักษะที่ตรงตามความต้องการของธุรกิจ ในช่วงฝึกงานซึ่งเป็นการสร้างอนาคตให้กับนักศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับองค์กร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน PHC สนับสนุนเงินทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายด้านที่พัก หากนักศึกษาได้รับการฝึกนอกพื้นที่ในต่างจังหวัด และยังมีการอบรมอย่างมีแผนการ ซึ่งเป็นการช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างบริษัทและสถานศึกษาอีกด้วย โดยในปี 2566 มีสถานศึกษาที่เป็นพันธมิตรรวม 8 สถานศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมาวิทยาลัยเทคโนโลยีฐาน เทคโน วิทยาลัยอาชีวเพชรบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ วิทยาลัยอีเทควิ ทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา (A-tech) วิทยาลัยเทคโนจรัญสนิทวงศ์

education

หลักสูตรทวิภาคี ของ PHC

PHC ลงนามบันทึกข้อตกลงการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและการฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะการทำงานจริงและส่งเสริมการจ้างงานให้แก่นักเรียน นักศึกษาผ่านเครือข่ายพิซซ่า ฮัท ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีการจ้างงานรวมกว่า 21 ตำแหน่ง

education

PHC ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเพชรบุรี เพื่อจัดการศึกษาหลักสูตรทวิภาคี และฝึกวิชาชีพให้กับนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการ ธุรกิจค้าปลีก การตลาด และบัญชี ช่วยให้นักเรียนนักศึกษาได้พัฒนาทักษะเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจได้ดีขึ้น และยังทำให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย

education

นอกจากนี้ PHC ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ภายใต้โครงการ “จัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (WiL : Work-integrated Learning)” เน้นเรียนจริง รู้จริง และทำงานจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กับกลุ่มนักศึกษาในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อเข้ามาทำงานบรรจุเป็นบุคลากรของพิซซ่า ฮัท ในตำแหน่งทีมผู้จัดการร้านฝึกหัด (Trainee Manager) ให้กับสาขาเปิดใหม่และสาขาปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อพัฒนาให้พนักงานเป็นทีมผู้จัดการร้านที่ดีและมีคุณภาพต่อไป และในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้มีการรับพนักงานจากโครงการ WiL รุ่นที่ 3 เข้าทำงาน จำนวน 15 คน และจัดสรรพนักงานโครงการ WiL ไปยังสาขาพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี

พิซซ่า ฮัท ปันสุข เพื่อเด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

PHC ซึ่งบริหารเฟรนไชส์พิซซ่า ฮัท ในประเทศไทย จัดโครงการ “พิซซ่า ฮัท ปันสุข – An Equal Slice for Everyone” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม สำหรับประเทศไทย พิซซ่า ฮัท จะสร้างโอกาสให้เด็กเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขอนามัย การศึกษาที่มีคุณภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยการแบ่งปันอาหารและสิ่งของจำเป็น เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมต่อไปในอนาคต

ในปี 2566 ภายใต้โครงการ “พิซซ่า ฮัท ปันสุข – An Equal Slice for Everyone” บริษัทได้จัดกิจกรรมหลายโครงการ ได้แก่

1. พิซซ่า ฮัท ส่งมอบความสุขให้น้อง บ้านนกขมิ้น กรุงเทพฯ

โดยจัดกิจกรรมสันทนาการสร้างรอยยิ้มและจัดเลี้ยงพิซซ่า อร่อยๆ ให้กับน้องๆ รวมถึงมอบสิ่งของอุปโภคบริโภคให้แก่ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น เพื่อช่วยดูแลน้องๆ ต่อไป

buddy-thai-02

2. จิตอาสาเพื่อผู้พิการทางสายตา

education
education

พิซซ่า ฮัท ได้มอบปฏิทินเก่า สิ่งของอุปโภคและบริโภค และเงินทุนสนับสนุนกิจกรรมสำหรับผู้พิการทางสายตา ให้แก่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และเหล่าอาสาสมัครได้ช่วยกันเข้าเล่มหนังสืออักษรเบรลล์ สแกนหนังสือแบบเรียน และจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้แก่บุคลากรและนักเรียนฝึกอาชีพ คนตาบอด ณ ศูนย์เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อคนตาบอด จังหวัดนนทบุรี

3. เสริมความรู้คู่ความอร่อยจากพิซซ่า ฮัท

education
education

พิซซ่า ฮัท จัดพิซซ่าอร่อยๆ เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 110 คน ที่เข้าร่วมโครงการ Biomedical Engineering Alternative Movement Camp ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นโครงการ แนะแนวทางในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง กรุงเทพฯ

4. กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

education
education

พิซซ่า ฮัท ออกบูทแจกพิซซ่า ให้แก่นักเรียนจำนวนกว่า 1,500 คน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ณ วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

5. โครงการสร้างห้องครัว พิซซ่า ฮัท ปันสุข

education
education

พิซซ่า ฮัท จัดโครงการ “ห้องครัวปันสุข” เป็นปีที่ 2 ให้กับโรงเรียนวัดบ้านม้า จังหวัดอยุธยา โดยทำการปรับปรุงห้องครัวของโรงเรียนให้สวยงาม จัดระเบียบอุปกรณ์ครัว ชั้นวางอาหาร ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ถูกสุขอนามัย เพื่อคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

6. โครงการสร้างห้องสุขาพาสุข

education
education
education
education

โครงการสร้าง “ห้องสุขาพาสุข” จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยในปีนี้ TTA ร่วมกับ พิซซ่า ฮัท ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องน้ำของโรงเรียนวัดบ้านม้า จังหวัดอยุธยา ซึ่งมีทั้งห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิงสำหรับเด็กนักเรียนระดับอนุบาล และระดับประถม กระจายอยู่ในบริเวณโรงเรียน ถึง 3 แห่ง ห้องน้ำของนักเรียนทั้งหมดได้รับการปรับปรุงใหม่ ตั้งแต่บริเวณอ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ โถสุขภัณฑ์ พื้นกระเบื้อง ฯลฯ เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดียิ่งขึ้น

3. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการจิตอาสา TTA ปลูกปะการังฟื้นฟูระบบนิเวศท้องทะเลไทย

education
education

ด้วยสภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะทะเลและภัยธรรมชาติ ทำให้ปะการังถูกทำลายจำนวนมาก TTA Group นำโดยผู้บริหารและพนักงานจิตอาสาจำนวน 62 คน ร่วมกับค่ายวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ และอาสาบ้านดินไทยลงพื้นที่ทะเลแสมสาร สัตหีบ ชลบุรี จัดกิจกรรม TTA Volunteer Spirit ตอบแทนสู่สังคม ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการปลูกปะการังเทียม ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง คืนความอุดมสมบูรณ์ให้ท้องทะเลไทย ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของแนวปะการังต่อระบบนิเวศ เนื่องจากแนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาล และแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล รวมถึงยังเป็นเขตกำบังคลื่นลมช่วยป้องกันอันตรายต่อชายฝั่งได้เป็นอย่างดี กิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกรักษ์ในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ อีกทั้งเพื่อเป็นการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับแนวปะการังที่เสียหาย ตลอดจนฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ ความจำเป็นในการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง การอนุรักษ์และเพาะปลูกปะการังด้วยท่อพีวีซีสำหรับการปฐมพยาบาลของสัตว์ทะเล

4. ด้านสาธารณกุศล

การบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิฯ

education
education

TTA นำโดยนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้มอบเงินสมทบทุน จำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่ มูลนิธิศิริราช เพื่อสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และจำนวน 1,000,000 บาทให้แก่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา

การสนับสนุนทุนสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

เพื่อสนับสนุนโครงการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของคนไทย TTA และพนักงานผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาทเพื่อสมทบทุนใน “โครงการสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์แห่งแรกของไทย เพื่อเป็นที่พึ่งพาอาศัยของผู้ป่วยและเป็นที่สำหรับสร้างสรรค์งานวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ฝีมือคนไทยระดับภูมิภาค

education

โครงการ “วีลแชร์เพื่อน้อง”

คนพิการในประเทศไทยจำนวนมากยังคงเป็นกลุ่มบุคคลที่ด้อยโอกาสทางสังคม ยังคงต้องได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้าน TTA ได้พบเห็นอุปสรรคนานัปการของคนพิการ จึงได้ให้การสนับสนุน “โครงการวีลแชร์เพื่อน้อง” ของมูลนิธิคนพิการไทยต่อเนื่องทุกปี สำหรับปี 2566 บริษัทฯ ได้สนับสนุนการจัดหาวีลแชร์สำหรับผู้พิการกลุ่มเยาวชน เพื่อเป็นกำลังใจและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดียิ่งขึ้น ทั้งเพิ่มโอกาสในด้านการศึกษา การทำงาน และการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

education

โครงการ “TTA เติมสุข”

ด้วยความเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมให้มีความน่าอยู่ได้ TTA จึงได้ริเริ่ม “โครงการ TTA เติมสุข” ขึ้นเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสาธารณะในหมู่พนักงาน ในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมเพื่อช่วยเหลือผู้คนในสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ดี โดย TTA ให้งบประมาณสนับสนุน ให้พนักงานไปดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการศึกษา การประกอบสาธารณกุศล และการทำนุบำรุงศาสนา โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

education

ร่วมสมทบทุน “โครงการช่วยน้องให้มองเห็น” ของมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กองทุนเฉลิมพระเกียรติ

education

ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมผ่าน “โครงการต่ออายุหลอดพลาสติก” ด้วยการเก็บหลอด ล้าง ตากให้แห้ง แล้วนำมาเข้ากระบวนการตัดหลอดให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปทำเป็นไส้หมอนส่งมอบแก่ผู้ป่วยติดเตียง

education

ร่วม “โครงการจิตอาสาสมุดเพื่อน้อง” จัดทำสมุดทำมือและนำไปส่งมอบต่อให้กับเด็กด้อยโอกาสที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน

education

จัดกิจกรรมทัศนศึกษา พานักเรียนโรงเรียนวัดจระเข้ใหญ่เยี่ยมชมนิทรรศการท้องฟ้าจำลอง ดูดาวและนิทรรศการอื่นๆ

education
education

ร่วมสมทบทุนไถ่ชีวิตโค-กระบือ และบริจาคของให้ผู้ยากไร้ ณ รุ่งโรจน์ฟาร์ม จังหวัดอยุธยา