การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ

กลุ่มบริษัทยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ และหลักการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการลงทุนในธุรกิจใหม่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมด้านภาษีทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทต่อต้านการทุจริต การให้สินบน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งสนับสนุนการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวให้ธุรกิจ ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมทาง ด้านเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และรูปแบบของธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน

การกำกับดูแลกิจการที่ดีถือเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯ และได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ปี 2560 รวมถึงการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจ และมีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับสากล

การกำกับดูแลกิจการ หมายถึง ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างความสัมพันธ์และแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหารของบริษัทฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทในระยะยาว สร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น และเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว

หลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้

  • การปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย การบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย กฎบัตร กฎเกณฑ์ มติของคณะกรรมการหรือของผู้ถือหุ้นที่เกี่ยวข้อง
  • ความรับผิดชอบ ผู้มีส่วนได้เสียทุกราย รวมถึงคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารจะต้องตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
  • ความโปร่งใส การประกอบธุรกิจและการดำเนินการทางธุรกิจจะต้องสามารถตรวจสอบได้และมีความโปร่งใส
  • การมีส่วนร่วม ต้องรับรู้และยอมรับในสิทธิของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัทฯ
  • หลักความคุ้มค่า ในการลงทุนและการใช้ทรัพยากรทั้งหลาย จะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนทางการเงิน และเศรษฐกิจ
คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ

คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ

กลุ่มบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความไว้วางใจจากลูกค้า และเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ ในอนาคต อันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เนื่องจากปัจจัยทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการเป็นปัจจัยหลักและสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของลูกค้า กลุ่มบริษัทจึงให้ความสำคัญกับความสำคัญกับประเด็นด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าและบริการ การบริหารจัดการสภาพแวดล้อม และความมั่นคงในการดำเนินงาน พร้อมกับรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มบริษัทได้ดำเนินงานตามแผนงานที่ได้มีการวางแผนไว้ โดยดำเนินการกำหนดเป้าหมายในประเด็นต่างๆ ตามลักษณะธุรกิจ และจัดให้มีการวัดผลหลังการดำเนินงาน เพื่อวัดประสิทธิภาพความเหมาะสมของแผนการดำเนินงาน และเพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ

โทรีเซน ชิปปิ้ง

โทรีเซน ชิปปิ้ง มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการให้บริการขนส่งสินค้าแห้งเทกองทางทะเล (Dry bulk carriers) ทั้งในส่วนสินค้าแห้งเทกองกลุ่มหลัก เช่น ถ่านหิน แร่/สินแร่ เมล็ดธัญพืช และในส่วนของสินค้าแห้งเทกองกลุ่มย่อย เช่น เหล็ก ปุ๋ย ซีเมนต์ ผลิตผลทางการเกษตร ไม้ซุง และอื่นๆ โดยรูปแบบการให้บริการของ โทรีเซน ชิปปิ้ง จะปฏิบัติตามสัญญาตามที่ได้มี การตกลงกับลูกค้า โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานในการส่งมอบบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของ โทรีเซน ชิปปิ้ง สามารถให้บริการขนส่งไปยังทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โทรีเซน ชิปปิ้ง จึงมุ่งเน้นการดำเนินงานให้สอดคล้องและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับตามมาตรฐานการเดินเรือสากล และมาตรฐานท่าเรือของประเทศที่ดำเนินการขนส่ง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการขัดต่อกฎหมาย และข้อบังคับและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง โทรีเซน ชิปปิ้ง มีหน่วยงานที่ทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพการให้บริการ โดยมีทีม Commercial Operations ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการให้การขนส่งเป็นไปตามมาตรฐานและข้อตกลงตามที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งยังมีทีมงาน Marine Operations ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการบนเรือ เตรียมการให้เรือมีความพร้อมในการให้บริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด

PHC และ STC

PHC ดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดมาเป็นลำดับแรก เนื่องจากความเสี่ยงอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและสุขอนามัยของลูกค้า ซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท และอาจต้องใช้ระยะเวลาและต้นทุนในการปรับปรุงแก้ไขเป็นอย่างมาก ดังนั้น การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหารจะช่วยลดต้นทุนในการแก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งช่วยสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้าต่อ แบรนด์สินค้า เพื่อให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับ STC ที่มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำทางด้านอาหารสไตล์เม็กซิกันในประเทศไทย มีความตั้งใจที่จะส่งมอบบริการดีที่สุดด้วยความรวดเร็ว เป็นมิตร และถูกต้องแม่นยำให้กับลูกค้า STC จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างมาตรฐานการผลิตเพื่อควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง

PHC และ STC ได้กำหนดเป้าหมายในการรักษามาตรฐานในเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง และเป็นพื้นฐานหลักของการบริหารจัดการ รวมถึงมีนโยบายควบคุมความปลอดภัยของอาหารที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฏหมายอาหารปลอดภัยของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีการกำกับดูแลภายใต้นโยบายคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตาม Franchise Policy และข้อกำหนดของบริษัท ยัม แบรนด์ส อิงค์ (Yum! Brands, Inc.,) ที่มีกระบวนการตรวจสอบและการประเมินความเสี่ยงจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก โดยจัดให้มี การหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางการป้องกันร่วมกับผู้ผลิตกลุ่มอาหาร บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหารโดยตรง และคลังจัดเก็บสินค้า และมีการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อคุณภาพและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง

การบริหารจัดการด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร

หน้าร้านค้า

  • ร้านค้าทุกร้านภายใต้ PHC และ STC ได้รับการตรวจสอบด้านมาตรฐานควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยทีมตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอกที่ได้การรับรองโดย Yum! Brands, Inc., อย่างสม่ำเสมอ

การดำเนินงานกับคู่ค้า

  • คู่ค้าของ PHC และ STC ทั้งที่เป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์ รวมถึงศูนย์เก็บและกระจายสินค้าจะได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหาร และตามมาตรฐานของ Yum! Brands, Inc., อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น BRC และ FSSC22000 เป็นต้น
  • นโยบายจัดการฝึกอบรมมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารให้แก่คู่ค้าในรูปแบบห้องเรียนทุกปี เพื่อให้คู่ค้า มีความเข้าใจในมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับสินค้าที่ผลิตให้กับ PHC
  • แนวทางการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทผักจากผู้ผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐาน Good Agricultural Practice (GAP) และมีนโยบายควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหาร

การดำเนินงานกับพนักงาน

  • ข้อกำหนดให้ผู้จัดการร้านทุกสาขาต้องได้รับใบอนุญาตผู้สัมผัสอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข
  • นโยบายจัดการฝึกอบรมความปลอดภัยทางด้านอาหารให้แก่พนักงานร้านทุกคนทั้งในรูปแบบห้องเรียน และรูปแบบออนไลน์ และมีนโยบายให้พนักงานสาขาตรวจสุขภาพก่อนรับเข้าทำงาน อีกทั้งยังมีมาตรการ อย่างเข้มงวดให้พนักงานล้างมือทุกครั้งเมื่อเข้าในบริเวณประกอบอาหาร และก่อนสัมผัสอาหาร เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ถูกปรุงภายในร้านมีความปลอดภัยก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า

การดำเนินงานกับลูกค้า

  • PHC และ STC ได้กำหนดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ผ่านช่องทางต่างๆ พร้อมกับกำหนดกระบวนการดำเนินงานสำหรับตรวจสอบเรื่องร้องเรียนและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคต
ผลการดำเนินงาน

ในปี 2566 พนักงานในร้านพิซซ่า ฮัท และทาโก้ เบลล์ ทุกคนได้ผ่านการอบรมด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีคู่ค้าที่ผ่านการฝึกอบรมมาตรฐานความปลอดภัย ร้อยละ 100 ของคู่ค้า ของร้านพิซซ่า ฮัท ทั้งหมด นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทผักจากผู้ผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานย Good Agricultural Practice (GAP) และมีนโยบายการควบคุมความปลอดภัยทางด้านอาหารอีกด้วย

ตารางแสดงผลการดำเนินงานการฝึกอบรมด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ร้อยละของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
2564 2565 2566
พนักงาน 100 100 100
คู่ค้า 100 100 100

PHC และ STC มีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยแเพื่อสุขภาพที่ดี ของผู้บริโภค บริษัทจึงมีเป้าหมายดำเนินการตรวจสอบด้านความปลอดภัยร้านอาหาร รวมถึงคู่ค้าทุกรายเป็นประจำทุกปี และสาขาของบริษัทจะต้องได้รับการตรวจสอบให้ผ่านตามข้อกำหนดมาตรฐาน ประกอบด้วยมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร มาตรฐานแบรนด์ และมาตรฐานกฎหมายภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 2.35 ครั้ง โดยบริษัทตรวจสอบจากภายนอก ที่ได้รับการรับรองและมีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่เจ้าของเฟรนไชส์ เป็นผู้มอบหมาย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของแต่ละร้านและทำการแก้ไขปรับปรุง

ร้านพิซซ่า ฮัท มีผู้จัดการร้านในแต่ละสาขาเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและมีหน้าที่ในการดำเนินการตรวจสอบ นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการอาหารปลอดภัย (Food Safety Committee) ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพวัตถุดิบจำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพส่วนของร้านอาหารจำนวน 2 คน โดยมีการประชุมเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ ซึ่งจะนำไปหารือเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการบริการ และนำไปเสนอต่อหัวหน้าทีม ทีมจัดการร้านและแผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจในกระบวนการดำเนินงานรวมถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารก่อนส่งถึงผู้บริโภค นอกจากนี้ สำหรับ PHC ยังมีข้อมูลด้านโภชนาการ (Nutrition Transparency) เปิดเผยบนเว็บไซต์เพื่อเป็นข้อมูลสารอาหารให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

กระบวนการตรวจสอบร้านอาหารพิซซ่า ฮัท
Flowchart of Pizza Hut Restaurant Visit

นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 1150 เว็บไซต์ของบริษัท www.pizzahut.co.th และทาง Social Media ที่ www.facebook.com/pizzahutthailand ซึ่งหากมีข้อร้องเรียนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ หน่วยงาน call center จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบในขั้นต้น และรายงานต่อหน่วยงานฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ เมื่อพิจารณาผลการตรวจสอบแล้วจะดำเนินการแก้ไขและดำเนินการชดเชยให้แก่ลูกค้า โดยฝ่ายปฏิบัติการ จากนั้นบริษัทจะสรุปประเด็นข้อร้องเรียน เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคตต่อไป

PHC ได้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Safety & Health Administration: SHA) ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจสำหรับผู้ประกอบการ หรือข้อกำหนดเบื้องต้นที่สถานประกอบการพึงมี เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ซึ่งมาจากมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับมาตรฐานของสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดทำสัญลักษณ์ SHA เพื่อรับรองคุณภาพ ของสถานประกอบการนั้นๆ และเมื่อได้รับสัญลักษณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะถูกประเมิน รวมถึงมีการสุ่มตรวจจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นระยะอีกด้วย ซึ่งผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า PHC เป็นหนึ่งในสถานประกอบการที่ดำเนินการปรับปรุงสถานประกอบการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

SHA Standards

PHC ได้รับความเห็นชอบจากกรมอนามัยให้เป็นหน่วยงานจัดการอบรม ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร เนื่องจากผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบ ปรุง ประกอบอาหาร และให้บริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ หลักการสุขาภิบาล และสุขวิทยาส่วนบุคคล รวมถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้อง พนักงานของ PHC ถือเป็นผู้สัมผัสอาหารที่ต้องผ่านการอบรมดังกล่าว PHC ได้ขอความเห็นชอบจากกรมอนามัยเพื่อเป็นหน่วยงานการจัดการอบรม ซึ่งได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ส่งผลให้ PHC สามารถฝึกอบรมพนักงานของ PHC เองได้อย่างเต็มที่ และพนักงานของ PHC สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและสามารถบริการอาหารที่สะอาด ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค รวมถึงมีการบริหารจัดการที่ดีในสถานที่จำหน่ายอาหารอีกด้วย/p>

Department of Health Training

UMS

UMS มีกลยุทธ์ที่สำคัญทางด้านผลิตภัณฑ์ โดยมีกระบวนการคัดเลือกและปรับปรุงคุณภาพถ่านหินที่มีประสิทธิภาพ การสำรวจคุณภาพถ่านหินด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญและมีความสามารถ เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพถ่านหินทั้งในด้านปริมาณคาร์บอน ความชื้น ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ลูกค้าแต่ละรายจะได้ถ่านหินที่มีคุณภาพเหมาะสมกับหม้อไอน้ำของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเผาผลาญเชื้อเพลิง

การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าและการจัดการข้อร้องเรียน

การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าและการจัดการข้อร้องเรียน

ด้วยแนวคิดที่ว่าความเติบโตของธุรกิจมีรากฐานมาจากกลุ่มลูกค้า กลุ่มบริษัทจึงคำนึงถึงความต้องการและ ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสาคัญ และมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและ ความคาดหวัง ด้วยราคาที่เป็นธรรม โดยใช้การตลาดที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ ทั้งนี้กลุ่มบริษัทยังให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น และแบบประเมินความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มบริษัทได้รับความไว้วางใจในการรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้า โดยสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิม รวมถึงขยายฐานไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ให้หันมาใช้สินค้าและบริการจากกลุ่มบริษัทมากขึ้นควบคู่ไปกับการสนับสนุนความสำเร็จอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัท

TTA

กลุ่มบริษัทให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรม ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนและ ความคาดหวังของลูกค้า ผ่านการวางแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกับลูกค้า โดยกลุ่มบริษัทมีแนวทางการปฏิบัติต่อลูกค้าที่สอดคล้องและครอบคลุมตามที่ระบุไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2552 และมีการแก้ไขล่าสุดปี 2566 โดยภายหลังการแก้ไขจรรยาบรรณธุรกิจทุกครั้ง บริษัทฯ จะดำเนินการสื่อสารให้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบทุกครั้ง พร้อมกับจัดให้มีการทดสอบความรู้ ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ (https://www.thoresen.com/th/corporate-governance/corporate-policy-documents) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทฯ ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และในเวลาที่เหมาะสมแก่ลูกค้า
  • การปฏิบัติตามข้อกำหนด และเงื่อนไขที่ให้ไว้กับลูกค้าอย่างเคร่งครัด
  • การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างสุภาพ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งความไว้วางใจจากลูกค้า
  • การรักษาความลับของลูกค้า และหลีกเลี่ยงการใช้ความลับดังกล่าวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลอื่น
TTA

โทรีเซน ชิปปิ้ง

โทรีเซน ชิปปิ้ง มีความมุ่งมั่นในการดูแลจัดการให้การขนส่งสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาตามที่ได้ มีการตกลงกับลูกค้า โดยมีทีม Commercial Operations กำกับดูแลให้การขนส่งและการบริการที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามข้อตกลงตามสัญญาที่กำหนด

PHC

PHC ดำเนินนโยบายความสัมพันธ์กับลูกค้าบนพื้นฐานของการดำเนินงานเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าทั้งด้านความเชื่อมั่นในความปลอดภัยด้านอาหาร และคุณภาพของการบริการ ผ่านการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการยกระดับประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากความเข้าใจต่อความต้องการและพฤติกรรม ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อยกระดับความภักดีของลูกค้าและขยายกลุ่มลูกค้าไปยังฐานที่กว้างขึ้น และ PHC มีแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านโฆษณา โดยการโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เช่น ข้อความที่เกินความจริง และข้อความที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้าและบริการของ PHC

PHC แบ่งการดำเนินงานการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Customer Relations Management Platform และ Guest Experience Survey ควบคู่ไปกับการตั้งเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการนำมาปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์

Customer Relations Management Platform

ระบบสำหรับอำนวยความสะดวกในการเก็บฐานข้อมูลสำหรับจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ จัดกลุ่มลูกค้ารวบรวมช่องทางการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า สำหรับ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย นำเสนอสินค้าใหม่ นำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อการเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงตาม ความต้องการสูงสุด และใช้สนับสนุนการสร้างประสบการณ์เชิงบวกและอัตราการกลับมาซื้อซ้ำ สำหรับโครงการที่มีการนำเครื่องมือใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย PHC มี การตั้งเป้าหมายและการวัดผลการดำเนินงานในทุกโครงการ โดยรูปแบบการประเมินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของโครงการ

Guest Experience Survey

PHC ได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ ทุกครั้งที่มีคำสั่งซื้อสินค้าทั้งในด้านของความพึงพอใจต่อรสชาติ ปริมาณของอาหาร ราคา ความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลหรือช่องทางการสั่งสินค้า และความพึงพอใจในบริการ เป็นต้น โดยดำเนินการผ่านแบบสอบถามและทางช่องทางออนไลน์ และข้อความทางโทรศัพท์ (SMS) ทั้งนี้ PHC ได้นำผลการสำรวจความพึงพอใจลูกค้ามาวิเคราะห์สาเหตุและทำแผนการแก้ไขปรับปรุงประจำเดือนอย่างต่อเนื่อง และมีการตั้งเป้าหมาย Guest Experience Survey ในแต่ละปี เพื่อวัดประสิทธิผลความพึงพอใจของลูกค้า และวัดผลการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์ลูกค้า

กระบวนการตรวจสอบข้อร้องเรียน
Customer complaint process
Customer complaint process

นอกจากนั้น PHC ยังมีการพัฒนาช่องทางการรับฟัง ความคิดเห็นของลูกค้าและรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางที่หลากหลาย เพื่อเก็บข้อมูลการร้องเรียนของลูกค้าไปใช้ในการปรับปรุงการให้บริการต่อไป ในกรณีที่เกิดการร้องเรียนด้านการให้บริการของร้าน ผู้จัดการร้านจะทำการวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อร้องเรียนที่ได้รับ โดยจะทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา สถานที่ที่เกิดข้อร้องเรียน จำนวนครั้งที่เกิด ข้อร้องเรียน จากนั้นจะนำมาสรุปเป็นประเด็นข้อร้องเรียน เพื่อหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำในอนาคตต่อไป และ ทำการวัดผลการแก้ไขข้อร้องเรียน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ไม่มีข้อร้องเรียนในด้านสุขภาพและความปลอดภัย จากการใช้บริการของร้านพิซซ่าฮัท

ช่องทางการร้องเรียนปัญหาที่พบ
  • Call Center : 1150
  • Website : www.pizzahut.co.th
  • Mobile Application : Pizza Hut Thailand

เพื่อเป้าหมายการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ทาง PHC ได้ดำเนินการตามแผน การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า และการจัดการข้อร้องเรียน

เป้าหมาย Guest Experience Survey

  • ความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 83
  • ความพึงพอใจในด้านความปลอดภัยของอาหารร้อยละ 85

เป้าหมายระยะยาว ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2 ทุกปี

ผลการดำเนินงานปี 2566

เป้าหมายปริมาณของความพึงพอใจในภาพรวมของลูกค้า (ร้อยละ) ผลลัพธ์ของการประเมิน (ร้อยละ)
PHC 83 81.4
จำนวนข้อร้องเรียน (ครั้ง) 2566
PHC ข้อร้องเรียนได้รับทั้งหมด 1,611
ข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไข 1,611
ประเด็นข้อร้องเรียนที่ได้รับ และได้รับการแก้ไขในปี 2566
1,611 ครั้ง
Products and Services Quality and Safety
คุณภาพและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ
0 ครั้ง
Cyber Security and Data Privacy
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัย ทางไซเบอร์
0 ครั้ง
Environmental issues
การปฏิบัติตาม ข้อกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อม
0 ครั้ง
Human rights violations
การละเมิดสิทธิมนุษยชน

STC

STC เล็งเห็นถึงความสามารถในการเป็นร้านอาหารสไตล์เม็กซิกันที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า ด้วยการส่งมอบ การสินค้าและบริการที่ดี จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวอย่างยั่งยืนกับลูกค้า ซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการเติบโต และความสำเร็จของธุรกิจ STC ดำเนินการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า โดยให้ลูกค้าสามารถส่งแบบประเมินตามรายละเอียดในท้ายใบเสร็จโดยมีการสอบถามในหลายมิติ เช่น ความพึงพอใจของสินค้า บริการ ความสะอาด และมาตรการความปลอดภัยในสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้น และมีการตั้งเป้าหมาย พร้อมกับการวัดผลการประเมินถึงความพอใจหลังการดำเนินงาน ในปีนี้ STC ได้มุ่งเน้นในการปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานด้านความรวดเร็วในการให้บริการ ให้สามารถส่งมอบสินค้าและบริการได้อย่างทันตามความต้องการ และเพิ่มประสิทธิการหมุนเวียนของลูกค้าภายในร้านให้เร็วมากขึ้นเพื่อลดอัตราความแออัดภายในร้าน

จากการดำเนินงานในปี 2566 STC ไม่พบว่ามีข้อร้องเรียนจากการใช้บริการของร้านทาโก้ เบลล์อย่างมีนัยสำคัญ จากทุกช่องทางการรับเรื่อง อย่างไรก็ตาม STC ได้จัดเตรียมขั้นตอนการดำเนินการกรณีได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า โดยหลังรับเรื่องร้องเรียน ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ดำเนินการติดต่อลูกค้าเพื่อสอบถามรายละเอียดปัญหาหรือข้อแนะนำด้านบริการที่ได้รับเพิ่มเติม พร้อมแจ้งขออภัยต่อเหตุการณ์และดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า ในกรณีนอกเหนือความรับผิดชอบจะดำเนินเรื่องแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาระดับถัดไปเพื่อหาแนวทางการแก้ไข โดยทุกเรื่องร้องเรียนจะถูกแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 72 ชั่วโมง และถูกบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มเพื่อหาแนวทางการแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ

ช่องทางการร้องเรียนปัญหาที่พบ
  • Website : www.tacobell.co.th
  • Facebook : Taco Bell Thailand

UMS

UMS จัดหาและตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้บริษัทมีหน่วยงานที่คอยให้คำปรึกษาและบริการดูแลลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขาย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าทันทีที่ได้รับแจ้งด้วยการช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา พร้อมกับแนวทางในการแก้ไข นอกจากนี้ยังมีการพบปะ/เข้าเยี่ยมลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากลูกค้า ซึ่งเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้า

บริษัทดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมาและมีจรรยาบรรณธุรกิจ โดยการจัดหาสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน รักษาความลับของลูกค้า ทั้งนี้กรรมการผู้จัดการของบริษัทจะรายงานความสัมพันธ์กับลูกค้าต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

AIM

บริษัทมีการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าตามกลยุทธ์ในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจการตลาดที่มุ่งเน้น การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและลูกค้าเป็นศูนย์กลาง โดยบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ให้เกิดเป็นแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมกระบวนการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยั่งยืน

การบริหารห่วงโซ่คุณค่า

การบริหารห่วงโซ่คุณค่า

การบริหารห่วงโซ่คุณค่า ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยการบริหารห่วงโซ่คุณค่าอย่างครอบคลุม พร้อมกับบูรณาการแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นส่วนผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดหาสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเพื่อส่งมอบไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค ทางกลุ่มบริษัทจึงมีความมุ่งมั่นในการยกระดับการบริหารทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ ทั้งยังให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากคู่ค้าภายในห่วงโซ่คุณค่า พร้อมส่งต่อคุณค่าและความรับผิดชอบผ่านสินค้าและบริการ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค ตอบสนองต่อความคาดหวังต่อผู้มีส่วนได้เสีย และลดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะหยุดชะงัก เนื่องจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในห่วงโซ่คุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคู่ค้าของบริษัทฯ

TTA

TTA มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่าความสำเร็จที่ยั่งยืนอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า และเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดำเนินธุรกิจมีความสอดคล้องตามนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง TTA จึงจัดทำจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เพื่อให้คู่ค้าธุรกิจมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ

TTA ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับแนวทางการบริหารจัดการคู่ค้า โดยจัดทำจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct) รวมทั้งได้ออกระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงหลักเกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้า ที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ

จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจของ TTA จัดทำขึ้นโดยยึดหลักการดำเนินงานโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคมควบคู่กับบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้คู่ค้าทุกรายปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว โดยกำหนดให้คู่ค้าของ TTA ลงนามรับทราบจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ และยินยอมให้มีการเข้าตรวจสอบกระบวนการผลิตและการให้บริการว่าเป็นไปตามข้อกำหนดตามความเหมาะสม รวมถึงจัดให้มีการดำเนินการตรวจสอบภายในสำหรับบริษัทในเครือ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคู่ค้าได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือข้อบังคับตามที่กำหนดของบริษัท

จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ https://www.thoresen.com/th/corporate-governance/corporate-policy-documents
แนวทางการดำเนินงานตามจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ
  1. จัดซื้อจัดจ้างโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในด้านคุณภาพ ราคา และการให้บริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทฯ
  2. จัดซื้อจัดจ้างโดยมุ่งเน้นด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ไม่เอาเปรียบคู่ค้า และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน เปิดเผย และปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคู่ค้า
  3. จัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำกับควบคุมภายในกิจการที่ดี
  4. จัดซื้อจัดจ้างและบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Environmental, Social, Governance & Economic: ESG) รวมถึงการกำกับดูแลคู่ค้าให้ดำเนินการตามจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct) ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของการบริหารห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงานสอดคล้องกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตร (Green Procurement)
  1. เจ้าหน้าที่จัดซื้อต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. พิจารณาสินค้าและบริการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สินค้าที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวฯ
  4. พิจารณาผู้ขายและผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
  5. จัดทำขั้นตอนและวิธีการจัดซื้อ/จัดจ้างที่เป็นธรรมและให้ความเสมอภาค
การคัดเลือกคู่ค้าของบริษัทฯ

เมื่อมีความจำเป็นต้องมีการจัดหาสินค้าและบริการ เจ้าหน้าที่จัดซื้อทำการคัดเลือกคู่ค้าจากรายชื่อคู่ค้าที่ขึ้นทะเบียน (Approved Supplier List) ที่ผ่านขั้นตอนการคัดเลือกและดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  1. ให้ข้อมูลความต้องการจัดหาสินค้าและ/หรือบริการที่ถูกต้องชัดเจน เพียงพอ เป็นธรรมต่อคู่ค้าทุกรายที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการจัดหาครั้งนั้น เพื่อให้โอกาสคู่ค้าที่มีคุณสมบัติได้นำเสนอสินค้าและ/หรือบริการอย่างเท่าเทียม
  2. การคัดเลือกขั้นแรกสำหรับคู่ค้ารายใหม่ยึดหลักการพิจารณา โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าและ/หรือบริการ ราคาที่เหมาะสม รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ที่จำเป็น โดยคู่ค้ารายใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกขั้นแรกต้องจัดทำแบบประเมินตนเอง ซึ่งครอบคลุมด้านสินค้าและบริการ ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติการจัดหาในขั้นตอนถัดไป
  3. เจ้าหน้าที่จัดซื้อพิจารณาแบบประเมินตนเองจากคู่ค้า ร่วมกับคุณภาพของสินค้าและ/หรือบริการ ราคา และข้อกำหนดอื่นๆ ที่จำเป็น
    • คะแนนมากกว่าร้อยละ 70 ถือว่าผ่านการประเมิน ให้รวบรวมผลนำเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ
    • คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 70 ถือว่าต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเพิ่มเติม ให้เจ้าหน้าที่จัดซื้อแจ้งผลกับคู่ค้า และร่วมกันกำหนดแนวทางการป้องกันประเด็นที่อาจส่งผลกระทบด้านความยั่งยืนกับบริษัทฯ และประเมินผลในครั้งถัดมา
  4. คู่ค้าที่ผ่านการอนุมัติแล้วจะถูกกำหนดสถานะว่าเป็นคู่ค้าสำคัญ หรือคู่ค้ารอง โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้า
  5. หลังจากได้เข้าร่วมทะเบียนคู่ค้าแล้ว คู่ค้าเดิมจะต้องผ่านการประเมินประสิทธิภาพการทำงานรายปี (Yearly Performance Evaluation) ผ่านแบบประเมินคู่ค้าโดยบริษัทฯ เป็นผู้ประเมิน ร่วมกับแบบประเมินตนเองของคู่ค้าครอบคลุมด้านสินค้าและบริการ ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน อีกทั้งในระหว่างปี บริษัทฯ สามารถร้องเรียนและนำเสนอปัญหาที่เกิดจากการใช้งานหรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจได้ โดยบริษัทฯ จะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง พิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา และให้คำแนะนำประกอบกับวางแผนพัฒนาศักยภาพคู่ค้าร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องจากทุกหน่วยงานและคู่ค้าก่อนการประเมินอีกครั้ง
หลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้า

บริษัทฯ กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มประเภทคู่ค้า ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ ในการดำเนินงานด้านการจัดซื้ออย่างเป็นระบบ รวมถึงนำไปเป็นข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้า อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้า ดังนี้

1. คู่ค้าสำคัญ (Critical Tier1 Supplier)

คู่ค้าที่มีมูลค่าสัญญาสูง คู่ค้าที่มียอดการใช้จ่ายสูง สินค้าทดแทนหายาก และอยู่ในกลุ่มของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ ที่สำคัญต่อกระบวนการผลิต และมีความเสี่ยงสูงมากต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ หรือความเสี่ยงสูง โดยบริษัทฯ กำหนดให้คู่ค้ากลุ่มนี้มีการประเมินผลการทำงานทุกปีผ่านแบบประเมินคู่ค้าโดยบริษัทฯ เป็นผู้ประเมิน ร่วมกับแบบประเมินตนเองของคู่ค้า และ/หรือเยี่ยมชมพื้นที่การปฏิบัติงาน (Onsite audit) โดยผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ ครอบคลุมด้านสินค้าและบริการ ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

2. คู่ค้ารอง (Critical Non-Tier 1 Supplier)

คู่ค้าที่มียอดการใช้บริการปานกลางหรือมูลค่าสัญญาต่ำ และมีความเสี่ยงต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ อยู่ในระดับกลางหรือความเสี่ยงต่ำ ซึ่งบริษัทฯ กำหนดให้มีการประเมินผลการทำงานเป็นประจำทุกปีผ่านแบบประเมินคู่ค้าโดยบริษัทฯ เป็นผู้ประเมิน ร่วมกับแบบประเมินตนเองของคู่ค้า และการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ) โดยผ่านขั้นตอนการตรวจสอบครอบคลุมด้านสินค้าและบริการ ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า

ปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า คือ การประเมินความเสี่ยง โดยเบื้องต้นบริษัทฯ มีระบบจัดการความเสี่ยงของคู่ค้า ประกอบด้วย การประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่คุณค่า การตอบแบบประเมินคู่ค้าโดยบริษัทฯ และแบบประเมินตนเองของคู่ค้า เพื่อระบุคู่ค้าที่มีความสำคัญในห่วงโซ่คุณค่า และเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัทฯ โดยแต่ละประเด็นมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ประเด็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ เช่น ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบ เป็นต้น
  2. ประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางเสียง การใช้น้ำและปล่อยน้ำเสีย การใช้พลังงาน และการจัดการของเสีย วัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ที่มีสารพิษ เป็นต้น
  3. ประเด็นความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล เช่น การทุจริต การหลีกเลี่ยงภาษี การแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
  4. ประเด็นความเสี่ยงด้านสังคม เช่น การจัดการด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นต้น
ผลการดำเนินงานปี 2566
จำนวนคู่ค้าทั้งหมด 51 ราย
ประเภทคู่ค้า
ราย
จำนวนคู่ค้ารายใหม่ 1
จำนวนคู่ค้าสำคัญ (Critical Tier 1) 18
จำนวนคู่ค้ารอง (Critical Non-Tier 1) 19
การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล และเศรษฐกิจ (ESG)
จำนวนคู่ค้าที่ได้รับการประเมินความเสี่ยง 2
จำนวนคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงจากการประเมิน 0
จำนวนคู่ค้าที่ได้รับการ On-site ESG audit 0
จำนวนคู่ค้าที่ได้รับการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบ 0
ระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระเงินให้แก่คู่ค้า
  • ระยะเวลาตามแนวปฎิบัติภายใน 30 วัน
  • ระยะเวลาเฉลี่ยเกิดขึ้นจริง 30 วัน

TTA

ในปี 2566 บริษัทฯ มีส่วนช่วยพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของคู่ค้า ด้วยการจัดอบรมในโครงการ Safety Talk กับบริษัท สเตท เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาพนักงานรักษาความสะอาดในการทำความสะอาดสำนักงานใหญ่ให้กับบริษัทฯ เพื่อสร้างความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานที่ดีต่อคู่ค้า และเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานรักษาความสะอาดสามารถปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงานในที่ทำงานของ TTA ซึ่งความรู้ที่ได้จากการอบรมในครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานของพนักงานรักษาความสะอาดต่อไปในอนาคต

ผลการดำเนินงาน พนักงานรักษาความสะอาดเข้าร่วมอบรมร้อยละ 100 ของจำนวนพนักงานรักษาความสะอาดทั้งหมด และมีผลการทดสอบก่อนและหลังการอบรม พบว่า ผ่านการทดสอบร้อยละ 100 และในปี 2566 ไม่พบกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของพนักงานทำความสะอาด

TTA
TTA

โทรีเซน ชิปปิ้ง

โทรีเซน ชิปปิ้งยึดถือแนวทางการบริหารห่วงโซ่คุณค่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยบริษัทมุ่งเน้นการกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลทางเรือ เพื่อประสิทธิภาพในการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพและทันต่อเวลา และมีแนวทาง การดำเนินการกับคู่ค้าที่ไม่ปฎิบัติตามข้อตกลง

PMTA

PMTA ยึดมั่นในการเติบโตอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มในห่วงโซ่คุณค่า Baconco ซึ่งเป็นบริษัทย่อยหลักของ PMTA ถือเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอุตสาหกรรมเคมีเกษตรของเวียดนาม เครื่องหมายการค้า STORK ของ Baconco ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ Baconco คัดเลือกคู่ค้าจากต่างประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านคุณภาพและความน่าเชื่อถือ เพื่อนำเข้าวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงกว่าคู่ค้าท้องถิ่นในเวียดนามเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต Baconco ยังดำเนินแคมเปญการตลาดในประเทศด้วยการจัดการประชุมขนาดเล็ก สัมมนา และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกำหนดเป้าหมายลูกค้าประเภทต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Baconco จัดการประชุมเล็กๆ กับเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็นหลัก และเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Baconco และแนะนำผลิตภัณฑ์อื่นๆ กิจกรรมนี้ยังช่วยให้ Baconco ได้รับข้อมูลเชิงลึก ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำจากลูกค้า

PHC

การดำเนินธุรกิจของ PHC ภายใต้เฟรนไชส์ของบริษัท ยัม แบรนด์ส อิงค์ มีนโยบายและข้อกำหนดเกี่ยวกับคู่ค้า ที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และยึดมั่นในการบริหารความเสี่ยงภายในห่วงโซ่คุณค่าอย่างมีความรับผิดชอบ และมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

  1. Food Safety Audit คือ การตรวจสอบที่ครอบคลุมในเรื่องความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัยที่เฉพาะเจาะจงตามที่กำหนด
  2. Quality System Audit คือ การตรวจสอบในเรื่องประสิทธิภาพการผลิตสินค้า และระบบการควบคุมคุณภาพ ของคู่ค้า
  3. Distribution Audit คือ การตรวจสอบในเรื่องคุณภาพของคลังสินค้า มาตรฐานในการจัดเก็บสินค้าว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของประเภทสินค้า การป้องกันการปนเปื้อนระหว่างสินค้าที่จัดเก็บ และการตรวจสอบในเรื่องคุณภาพ ของการขนส่งผลิตภัณฑ์ว่าขนส่งภายใต้ข้อกำหนดของสินค้านั้น เช่น เรื่องอุณหภูมิ ความสะอาดของรถ สุขอนามัยของพนักงานขนส่ง ขั้นตอนการจัดสินค้าขึ้นและลงจากรถขนส่ง เป็นต้น
  4. Packaging Audit คือ การตรวจสอบที่ครอบคลุมข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหาร ที่เฉพาะเจาะจง
  5. GFSI (Global Food Safety Initiative) Certification ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับนานาชาติที่จัดทำขึ้น โดยวัตถุประสงค์ ในการสร้างมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และสุขอนามัย ในกรณีที่คู่ค้ามีการจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพและได้รับผลการประเมิน GFSI ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของทาง PHC สามารถใช้เอกสารดังกล่าวแจ้งเพื่อยกเว้นการตรวจสอบตามมาตรฐานของ PHC ได้

PHC ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการบริหารห่วงโซ่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะธุรกิจอาหารต้องเกี่ยวข้องกับคู่ค้าจำนวนมาก และเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า ทั้งด้านคุณภาพ ราคา และลดความเสี่ยงต้นทุนในห่วงโซ่คุณค่า การขาดแคลนวัตถุดิบ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจของคู่ค้า PHC ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่มุ่งเน้นจัดซื้อด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ปฏิบัติข้อกำหนดของบริษัท ผ่านกระบวนการจัดหาการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่อย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัยในอาหารที่จะถูกส่งมอบไปยังลูกค้า มีจุดเริ่มต้นมาจากแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ กระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน การจัดเก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป รวมไปถึงการขนส่ง และการกระจายสินค้าไปยังร้านอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ PHC มีแนวทางการดำเนินงานเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพ และความสอดคล้องกับการดำเนินงานของคู่ค้าต่อนโยบายของ PHC อย่างต่อเนื่อง โดยในทุกปี PHC จะจัดกลุ่มคู่ค้ารายสำคัญ โดยพิจารณาจากลำดับความสำคัญตามความสำคัญเชิงกลยุทธ์ (Critical Component Suppliers) ซึ่งส่งผลต่อความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ มีการดำเนินการตรวจสอบโรงงานและประเมินความเสี่ยงคู่ค้ารายสำคัญ และคู่ค้ารายใหม่ทุกราย โดยผู้ตรวจประเมินภายนอก รวมถึงมีมาตรการการดำเนินงานกรณีคู่ค้าไม่ผ่านการตรวจประเมิน และแนวทางการฝึกอบรมประจำปีร่วมกับคู่ค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตรฐานในด้านความปลอดภัยของอาหาร ระบบคุณภาพ ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์ และความปลอดภัยของคลังสินค้า และการขนส่งผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ PHC ยังมีการเยี่ยมชมโรงงานและกระบวนการผลิตของคู่ค้าหลักประจำปี และหาแนวทางการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืนร่วมกับคู่ค้าในการทบทวนธุรกิจกับคู่ค้ารายสำคัญทุกราย เพื่อศึกษาถึงแนวโน้ม และผลกระทบในประเด็นต่างๆ รวมถึงประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจในอนาคต

นอกจากนี้ PHC ยังส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจที่มีการระบุถึงแนวทางการปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ โดยในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินการสื่อสารจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจไปยังคู่ค้ารายใหม่ทุกราย และยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายผลไปยังคู่ค้าทุกกลุ่ม

UMS

บริษัทมีกระบวนการจัดหา คัดเลือกและนำเข้าถ่านหิน โดยจะทำการสำรวจคุณภาพถ่านหินด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญและมีความสามารถ เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพถ่านหินทั้งในด้านปริมาณคาร์บอน ความชื้น ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมถึงสำรวจปริมาณถ่านหินสำรอง ซึ่งหากผลการตรวจสอบคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์พิจารณา บริษัทจึงจะทำการสั่งซื้อถ่านหินดังกล่าว นอกจากนี้ ในขั้นตอนการขนส่งในประเทศ บริษัทได้มีการกำหนดมาตรฐานในการขนส่ง โดยให้มีการคลุมถ่านหินในระหว่างขนส่งให้มิดชิด สำหรับการนำเข้าถ่านหินจากเหมืองต่างประเทศ บริษัทจะมีขั้นตอนต่างๆ ในการเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งและลำเลียงที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการนำเข้าถ่านหินจะผ่านขั้นตอนทางกฎหมายและพิธีการทางศุลกากรอย่างถูกต้อง ในปี 2566 บริษัทมิได้มีการนำเข้าถ่านหินดังกล่าวจากเหมืองในต่างประเทศ ทั้งนี้บริษัทมีหน่วยงานที่คอยให้คำปรึกษาและบริการดูแลลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขาย เพื่อส่งมอบสินค้าให้ถึงลูกค้าอย่างดีที่สุด

AIM

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท AIM มีแนวทางการคัดเลือกคู่ค้าอย่างเที่ยงธรรม ตรงตามมาตรฐานของระเบียบการประปาที่คำนึงถึงคุณภาพของการบริการ และให้ความสำคัญกับคู่ค้าที่มีนโยบายเช่นเดียวกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลักเพื่อการเติบโตและการพัฒนาร่วมกันในระยะยาว ดังนั้นบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าให้มีศักยภาพร่วมกับคู่ค้าทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่่มีการพัฒนาและเปลี่่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การรักษาความมั่่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่่องจากกลุ่มบริษัทมีการพึ่งพาเทคโนโลยีในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมทั้งลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มขอบเขตความสามารถอันจะนำไปสู่ความสำเร็จระยะยาว และวิวัฒนาการด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยมีความเสี่ยงที่่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ การเจาะระบบ การเรียกค่าไถ่ ข้อมูลของผู้ใช้งานในระบบถููกนำไปใช้หรือเผยแพร่โดยไม่ได้ความยินยอม และการสูญหายหรือรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญของกลุ่มบริษัท ทั้งในด้านข้อมูลการพัฒนาสินค้าและบริการและข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งทำให้การถููกโจมตีทางไซเบอร์อาจส่งผลกระทบทางลบต่อกลุ่มบริษัท ทั้งในรูปแบบของตัวเงินและรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ค่าปรับจากการถูกฟ้องร้อง ค่าเสียหายจากการถูกเรียกค่าไถ่หรือการขู่กรรโชก ผลกระทบทางลบต่อชื่อเสียง การสูญเสียรายได้หรือกำไร การสููญเสียฐานลููกค้าจากความเชื่่อมั่่นชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกลุ่มบริษัท เป็นต้น
Cyber Security and Data Privacy

TTA

บริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่กำกับดูแลเกี่ยวกับธรรมาภิบาลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม และการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับมาตรฐานและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง พิจารณานโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและการบรรเทาความเสี่ยงทางไซเบอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโดยบูรณาการเข้ากับการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ตั้งแต่การระบุุความเสี่ยง หรือโอกาสในการดำเนินธุุรกิจ การประเมินและจัดลำดับความสำคัญ การกำหนดมาตรการจัดการ การติดตามและรายงาน และการทบทวนนโยบายการจัดการความปลอดภัยทางด้านสารสนเทศและไซเบอร์เป็นประจำทุกปีเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายการจัดการความปลอดภัยทางด้านสารสนเทศและไซเบอร์

การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากขึ้นนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยเหตุนี้การปกป้องทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้ทุกคนต้องปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นมาตรฐานในการปกป้ององค์กรและผู้ใช้งานที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เท่าที่จำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของ บริษัทฯ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลนั้น หรือกิจกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อบริษัทฯ ประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่บุคคลนั้นใช้บริการ ตามที่ได้แจ้งต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ก่อน หรือ ขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายฉบับปัจจุบันได้เปิดเผยไว้ที่เว็บไซต์ของบริษัทฯ (https://www.thoresen.com/th/corporate-governance/corporate-policy-documents )

แผนงานและการดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

บริษัทฯ มีการเก็บรวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ ขอบเขต และใช้วิธีการที่ชอบ ด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัทฯ โดยแบ่งประเภทข้อมูลดังต่อไปนี้

Management Plan

บริษัทฯ มีการจัดทำระเบียบการควบคุมและการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้การใช้งานทรัพยากรสารสนเทศ และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ใช้ อันทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการเข้ารหัสสำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการสำรองข้อมูลที่เหมาะสม และเป็นไปตามมาตรฐาน Backup and Recovery Best Practice ซึ่งครอบคลุมถึงการกำหนดขอบเขต สื่อบันทึกข้อมูล ความถี่ในการสำรองข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลไปยังพื้นที่ต่างๆ และเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วบริษัทฯ ได้ดำเนินการทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี

ปัจจุบันบริษัทฯ พึ่งพาเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยพัฒนาการดำเนินงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและลดต้นทุนในการดำเนินงาน บริษัทฯ มุ่งเน้นให้มีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยให้ครอบคลุมถึงการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ รวมถึงจัดให้มีแผนการบริหารจัดการและบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวอย่างเหมาะสม ทั้งนี้การประเมินความเสี่ยง และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง สามารถศึกษาได้จากหัวข้อ ปัจจัยความเสี่ยง ในแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2566

ช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีข้อร้องเรียนใดๆ สามารถติดต่อได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

สถานที่ติดต่อ: 127เอ ถนน TELOK AYER,
ประเทศสิงคโปร์ (068596)
เบอร์โทรศัพท์: +65 6578-7000

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สถานที่ติดต่อ: 127เอ ถนน TELOK AYER,
ประเทศสิงคโปร์ (068596)
เบอร์โทรศัพท์: +65 6578-7000
อีเมล: dposhipping@thoresen.com

ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
ร้อยละของผู้ที่ได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ในปี 2566
กรรมการ
ร้อยละ 100
ผู้บริหาร
ร้อยละ 100
พนักงาน
ร้อยละ 72
จำนวนเหตุการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ ในปี 2566 0 ครั้ง
จำนวนเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล ในปี 2566 0 ครั้ง

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการสื่อสารเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับพนักงานผ่านทาง pop-up screen และระบบ Portal ภายในของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานสามารถศึกษาได้ตลอดเวลา

Cyber Security
Cyber Security
Cyber Security
Cyber Security

ในปี 2566 นอกจากการเสริมสร้างความรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์แล้ว บริษัทฯ ดำเนินโครงการกาทดสอบการโจมตี Phishing Email

  • วัตถุประสงค์ : เพื่อให้พนักงานเตรียมรับมือและตอบสนองกับเหตุการณ์ภัยคุกคามต่างๆ เมื่อได้รับอีเมลหลอกลวง ซึ่งจะสามารถลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีด้วยอีเมลหลอกลวงได้ ควบคู่กับการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและข้อสังเกตเกี่ยวกับอีเมลหลอกลวง
  • เป้าหมายของโครงการ : ไม่มีพนักงานที่ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลวงลอกในการทดสอบนี้ ภายใน 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มโครงการ
  • ระยะเวลาการดำเนินงาน : เริ่มต้นในปี 2566 และทำการทดสอบซ้ำ โดยเปลี่ยนรูปแบบการโจมตี จนกว่าจะไม่มีพนักงานที่ตกเป็นเหยื่อ
ผลการทดสอบโครงการการทดสอบการโจมตี Phishing Email ครั้งแรกในปี 2566
ผู้เข้าร่วมการทดสอบ
32 คน
ผู้ที่ผ่านการทดสอบ
16 คน
ผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบ (ตกเป็นเหยื่อ)
16 คน
ผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบ และผ่านการเรียนหลักสูตร Email Phishing
30 คน

เนื่องจากโครงการดังกล่าว เริ่มต้นดำเนินโครงการในเดือนธันวาคม 2566 จึงยังไม่มีผลของการทดสอบครั้งต่อไปเปิดเผยในรายงานความยั่งยืนฉบับนี้

โทรีเซน ชิปปิ้ง

เนื่องจากการใช้ระบบสารสนเทศและซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสมนําไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพที่มากขึ้นภายในองค์กร โทรีเซน ชิปปิ้ง ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทาง ไซเบอร์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทได้มีการจัดทำนโยบายสารสนเทศ นโยบายความเป็นส่วนตัว และนโยบายการใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ โดยเป็นกรอบในการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

แผนงานและการดำเนินการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

โทรีเซน ชิปปิ้ง ใช้มาตรการทางเทคนิคและจัดทำแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการป้องกันและ เก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยการใช้รหัสผ่านสำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเฉพาะผู้เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยแนวทางการป้องกันตามกฎหมายและการบังคับใช้ การเข้าถึง การใช้งาน และการเปิดเผย ซึ่งถูกจำกัดสิทธิสำหรับผู้รับผิดชอบเท่านั้น ทั้งในส่วนของข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์

ช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียน

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีข้อร้องเรียนใด ๆ สามารถติดต่อได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง สิงคโปร์ พีทีอี จำกัด

สถานที่ติดต่อ: 127เอ ถนน TELOK AYER,
ประเทศสิงคโปร์ (068596)
เบอร์โทรศัพท์: +65 6578-7000
.

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สถานที่ติดต่อ: 127เอ ถนน TELOK AYER,
ประเทศสิงคโปร์ (068596)
เบอร์โทรศัพท์: +65 6578-7000
อีเมล: dposhipping@thoresen.com

PHC

PHC ให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยทาง ไซเบอร์และสิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกค้าตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการระบบความมั่งคงปลอดภัยของสารสนเทศเพื่อกำหนด ทิศทางการบริหารจัดการและดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศของบริษัท พร้อมทั้งดำเนินการสื่อสารนโยบายและมาตรการด้านความปลอดภัยต่างๆ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องภายในและภายนอกรับทราบอย่างทั่วถึง เพื่อรักษาความลับส่วนบุคคลของลูกค้า โดยบริษัทกำหนดให้กรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลระบบความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ครอบคลุมถึงการประเมินความเสี่ยง พัฒนามาตรการด้านความมั่งคงปลอดภัยที่เหมาะสมและผลักดันให้ มีการนำไปปฏิบัติอย่างทั่วถึง นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดทำแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน (Contingency plan) เพื่อบริหารความต่อเนื่องขององค์กร และเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการล้มเหลวหรือเสียหายรุนแรงของระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งสามารถกู้คืนระบบได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม กรณีลูกค้ามีปัญหา สามารถร้องเรียนผ่านช่องทางของพิชซ่า ฮัท ได้ทุกช่องทาง

ช่องทางการร้องเรียนปัญหาที่พบ
  • Call Center : 1150
  • Website : www.pizzahut.co.th
  • Mobile Application : Pizza Hut Thailand
ประเด็น แผนการดำเนินงานปี 2566 แผนการดำเนินงาน 1-3 ปี
ภาพรวมของการจัดการ ความปลอดภัยของข้อมูล/ความปลอดภัยทางไซเบอร์ จัดทำ IT Security Policy เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และจัดอบรมพนักงานให้ทราบถึงความสำคัญของผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อองค์กร ประกาศใช้งาน IT Security Policy ให้พนักงานรับทราบเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และใช้อบรมเพื่อเป็นความรู้ให้กับพนักงานใหม่ และจัดอบรมเป็นประจำทุก 3 เดือน
มาตรการการรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางไซเบอร์แต่ละปี เช่น การโจรกรรมทางไซเบอร์เป็นศูนย์ ตรวจสอบและประเมินช่องโหว่ จุดบกพร่อง หรือสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูล และข้อมูลรายงานจากภายในและภายนอก รวมถึงการปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพื่อป้องกันและจำกัดความเสี่ยง จัดให้มีการทำการจำลองการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์จากบริษัทภายนอกเป็นประจำทุกปีเพื่อปิดช่องโหว่ให้เป็นศูนย์
โครงการสนับสนุนการรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีการตรวจสอบข้อมูลเรื่องการทบทวนการควบคุมระบบสารสนเทศตามข้อกำหนดของหน่วยงานประเมินจากภายนอกทุกปี โดยครอบคลุมในเรื่อง
  • การควบคุมห้องเซิร์ฟเวอร์
  • การควบคุมการเข้าห้องเซิร์ฟเวอร์
  • การควบคุมการเข้าแอพพลิเคชัน
กำหนดสิทธิการข้าถึงข้อมูลเฉพาะหน่วยงาน หรือผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงเฉพาะข้อมูลได้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลข้อมูลออกสู่ภายนอก และจะจัดการอบรมร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้เป็นประจำทุก 3 เดือน
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางไซเบอร์ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ISO 27001 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จัดทำการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในทุกช่องทางของบริษัทเพื่อให้ลูกค้ารับทราบถึงว่าข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิต่างที่ให้ไว้กับทางบริษัท ซึ่งทางบริษัทมีการปกป้องข้อมูลของลูกค้าเป็นอย่างดี และจัดอบรมให้พนักงานรับทราบถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้า และการนำขัอมูลของลุกค้าไปใช้งาน จัดทำมาตรฐานหลักเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับองค์กร และลดความเสี่ยงต่อการป้องกันข้อมูลจากการโจรกรรม มีการสำรองข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ไปยังภายนอกบริษัท หรือการทำ Disaster Recovery Site และ Disaster Recovery Plan และจัดทำตารางการซ้อมแผน Disaster Recovery ประจำปี
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

ในปัจจุบันโลกดิจิทัลและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเข้ามามีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ความต้องการของลูกค้าและสังคมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การแข่งขัน ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดความท้าทายในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น นวัตกรรมจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของกลุ่มบริษัท ให้สามารถปรับตัว และรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

Research and Innovation

กลุ่มบริษัทมีค่านิยมขององค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการนำความคิดหรือแนวทางใหม่ๆ มาปฏิบัติเป็นรูปธรรม ด้วยการมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และมีความพร้อมในการทำงาน มุ่งมั่นที่จะส่งเสริม การสร้างนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจตามสภาพปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เอื้อต่อการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร และกำหนด กลยุทธ์ด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องกับทิศทางและแผนพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาธุรกิจและต่อยอดธุรกิจหลักให้เติบโตและยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมทั้งนวัตกรรมด้านกระบวนการทำงาน รูปแบบธุรกิจใหม่ รวมทั้งการทำงานร่วมมือกับคู่ค้าในห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ยังมีการเตรียมความพร้อมในการรองรับเทคโนโลยีและ การเปลี่ยนแปลงในอนาคตเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม พร้อมทั้งยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มฐานลูกค้าให้กับบริษัทฯ ตลอดจน สร้างความแตกต่างระหว่างคู่แข่งขัน

บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจตามสภาพปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

Research and Innovation

TTA

TTA ให้ความสำคัญกับการคิดค้นหรือลงทุนในนวัตกรรมที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงความยั่งยื่น

โทรีเซน ชิปปิ้ง

โทรีเซน ชิปปิ้ง มีการพัฒนาระบบการเพิ่มพูนทักษะการทำงานให้แก่คนประจำเรือโดยผ่านระบบ Online โดยมีระบบสารสนเทศ e-learning เป็นตัวขับเคลื่อนการเรียนรู้ ประกอบกับการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในและ นอกองค์กรอยู่ตลอดเวลา ความรู้ที่ให้จะมีทั้งด้านความรู้ทั่วไป การบริหารจัดการ ความรู้ทางด้านการเดินเรือ ด้านการซ่อมบำรุง และด้านบริหารความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาต่อยอดการบริหารงาน และอื่นๆ

PHC

การพัฒนากระบวนการดำเนินการ

PHC ได้พัฒนาระบบ Smart Workflow & Document Management ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ภายในเกี่ยวกับการควบคุมการขอเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทางของพนักงาน (E-Request) การอนุมัติ (E-Approval) และการจัดเก็บเอกสารรูปแบบ pdf file (E-Storage) ผ่านทาง online เพื่อสะดวกรวดเร็วและลดการใช้กระดาษในการพิมพ์เอกสาร

โครงการลดต้นทุนในห่วงโซ่อุปทาน

เป็นโครงการเพื่อหาแนวคิดใหม่ในลดต้นทุนในห่วงโซ่อุปทาน โดยบริษัทและคู่ค้ามีการศึกษาความเป็นไปได้และหาทางลดต้นทุนการผลิตโดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของสินค้า เช่น เพิ่มขนาดของบรรจุภัณฑ์วัตถุดิบ เพื่อลดต้นทุนของการใช้บรรุภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีปริมาณมาก การยกเลิกการขายน้ำอัดลมแบบบรรจุขวด PET เปลี่ยนเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มจากคู่ค้าที่มีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล มีความปลอดภัย และความสะดวกต่อการใช้งานกับลูกค้าเป็นสำคัญ

การพัฒนาปรับปรุงนวัตกรรมวัตถุดิบการทำแป้งพิซซ่า

บริษัท ยัม แบรนด์ส อิงค์ ได้ค้นคิดนวัตกรรมวัตถุดิบการทำแป้งพิซซ่าเพื่อใช้ในการผลิตพิซซ่าหลายรูปแบบ (One dough system) ซึ่งทำให้แป้งพิซซ่าจะมีอายุการใช้งานนานขึ้น และลดการสูญเสียจากการทิ้งแป้งที่เหลือเมื่อหมดอายุไม่สามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพตามแบบเดิม และแป้งนวัตกรรมใหม่นี้ยังสามารถใช้ผลิตพิซซ่าได้หลายรูปแบบ ทำให้ลดเวลาการตีแป้งจากการต้องเตรียมแป้งหลายรอบต่อวันช่วยให้พนักงานสามารถบริหารเวลาการทำงานได้ดีขึ้น ลดเวลาการเข้างานช่วงเช้าได้ดีขึ้น

รวมพลังไรเดอร์พิซซ่า ฮัท ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

จากการให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและตอบแทนสู่สังคม โดยคำนึงถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) พร้อมร่วมขานรับเทรนด์โลก ในเรื่อง การลดมลพิษ พิซซ่า ฮัท สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ด้วยการรวมพลังกลุ่มไรเดอร์ พิซซ่า ฮัท ใช้ “รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า” จัดส่งอาหารให้แก่ลูกค้า ภายใต้แนวคิด ‘Eco-friendly Delivery’ ที่ช่วยสนับสนุนแนวคิดจิตสำนึก “รักษ์โลก ใส่ใจใช้พลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” นับว่าเป็นการนำร่องใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศและช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายด้านความยั่งยืนของพิซซ่า ฮัท ในประเทศไทย

Pizza Hut Delivery

PHC เลือกใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบรนด์ P80 Go ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานของกลุ่มไรเดอร์ ทั้งเรื่องสมรรถนะของรถ ความเร็ว และความแรงของรถ สามารถทำความเร็วสูงสุด ที่ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นการช่วยลดภาระของกลุ่มไรเดอร์ในสถานการณ์ที่ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบคือสถานีที่ชาร์จแบตเตอร์รี่รถไฟฟ้ายังมีจำกัดไม่ครอบคลุมพื้นที่ และใช้เวลาในการชาร์จแบตเตอร์รี่แต่ละรอบค่อนข้างนาน ทั้งนี้ทาง PHC และ P80 Go ได้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อศึกษาและพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของรถจักรยานไฟฟ้าต่อไปรวมถึงโอกาสการขยายสถานีการชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้าหรือสถานีสลับแบตเตอร์รี่ไฟฟ้า (Swap & Go) ให้ครอบคลุมพื้นที่และสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งานของกลุ่มไรเดอร์ พิซซ่า ฮัท

Pizza Hut Thailand บน App Store และ Google play

PHC จัดทำแอปพลิเคชันเพื่อเพิ่มช่องทางในการสั่งซื้อพิซซ่าให้กับลูกค้า โดยจัดทำแอปพลิเคชันบน App Store และ Google play ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า มีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายให้กับ PHC มากขึ้น

Dowload App Pizza Hut

STC

ทาโก้ เบลล์ ฉลองสาขาใหม่ด้วยโมเดลตู้คอนเทนเนอร์เป็นครั้งแรกที่ปั๊ม บางจาก สาขารามอินทรา กม. 6.5

ร้านทาโก้ เบลล์ สาขาปั๊มบางจาก รามอินทรา กม. 6.5 เปิดใหม่ด้วยนวัตกรรมการ upcycling ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้แล้ว ผ่านการคัดเลือกคุณภาพอย่างเหมาะสม ถูกนำมาสร้างเป็นส่วนประกอบหลักของร้านทาโก้ เบลล์เป็นสาขาแรก ถือเป็นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงต้นทุน ระยะเวลาในการก่อสร้าง ทั้งนี้ การใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทำให้เกิดขยะและของเสียน้อยกว่าการก่อสร้างในรูปแบบเดิม รวมถึงเมื่อต้องการเปลี่ยนสถานที่ตั้งร้าน ก็สามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว และคงเหลือปริมาณขยะและของเสียที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนสถานที่ตั้งร้านน้อยลง นอกจากนี้โมเดลการใช้ ตู้คอนเทนเนอร์นี้ ทำให้ STC สามารถสร้างร้านในพื้นที่ที่จำกัดได้ ก่อให้เกิดการจ้างงานกับบุคคลในบริเวณสาขารามอินทรา และก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนใกล้เคียง

Taco Bell
การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งใน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้การให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจนั้น สามารถสะท้อนภาพการดำเนินธุรกิจในระยะยาวของบริษัทอย่างยั่งยืนและมั่นคงได้ จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่ทำให้บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงรวมถึงการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และคำนึงถึงการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรมีแผนรับมือกับความเสี่ยงที่สำคัญและพร้อมเผชิญกับความไม่แน่นอนต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจใดๆ ตลอดจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ควบคู่ไปกับการสร้างคุุณค่าและความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

Crisis Incident
แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ สร้างการตระหนักรู้ให้แก่พนักงานต่อหลักการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนพร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมอันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยรวม โดยดำเนินงานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง (Risk owner) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในการทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมขององค์กร โดยบริษัทฯ ได้มีแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤตดังนี้

ผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตในปี 2566

ประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงในแต่ละหัวข้อของบริษัทฯ และบริษัทย่อย สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก หัวข้อปัจจัยความเสี่ยง ในแบบ 56-1 One Report

  • ประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืน หรือความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินของปี 2566 และแนวทางการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อาทิเช่น
    • ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยพิบัติ และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
    • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
    • ชุมชนสัมพันธ์และความรับผิดชอบทางสังคม
    • การทุจริตคอร์รัปชัน
    • การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
  • จำนวนบุคลากรที่ได้รับการอบรมเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
    ระดับบุคลากร 2566
    จำนวนคน ร้อยละ
    กรรมการ 4 36
    ผู้บริหารระดับสูง 72 100
    พนักงาน 13 72
  • การบริหารจัดการประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่ประเมินได้ในปี 2566
    Management result of sustainable risk