การบริหารจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า

ห่วงโซ่คุณค่าของ TTA

TTA’s Value Chain

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัท

จากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ผ่าน ห่วงโซ่คุณค่าที่มีความสอดคล้องต่อการดำเนินธุรกิจ กลุ่มบริษัทมีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้มีส่วนได้เสีย และนำมาวิเคราะห์หารูปแบบการดำเนินงานร่วมกับ ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการกำหนดช่องทางการรับฟังความคิดเห็น เพื่อทราบถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อกลุ่มบริษัท ทั้งนี้กลุ่มบริษัทสามารถนำเอาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของ กลุ่มบริษัท เพื่อลดผลกระทบด้านลบและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดยกลุ่มบริษัทได้พิจารณาและจำแนกกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

Primary Stakeholders
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก ( Primary Stakeholders)

ผู้มีส่วนได้เสียหลักเป็นผู้ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางตรงจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า ผู้สนับสนุนทางด้านการเงิน ชุมชนโดยรอบที่ประกอบธุรกิจ

Secondary Stakeholders
ผู้มีส่วนได้เสียรอง ( Secondary Stakeholders)

ผู้มีส่วนได้เสียรองเป็นผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัททางอ้อม โดยเป็นผู้ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางอ้อมจากการดำเนินธุรกิจ เช่น นักวิเคราะห์การลงทุน หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน

กระบวนการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย

สำหรับกระบวนการในการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย มีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การระบุและจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยพิจารณาจาก 2 เกณฑ์ ประกอบด้วย
    • กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่พึ่งพาอาศัยการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท
    • อิทธิพลของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท
  2. การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
    • กำหนดส่วนงานผู้รับผิดชอบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม อาท พนักงาน โดยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน โดยฝ่ายกิจการองค์กร และฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ และลูกค้า โดยฝ่ายขาย เป็นต้น
    • สำรวจความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบ ด้วยการสื่อสารและจัดกิจกรรม การมี ส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจและคาดหวัง พร้อมการตอบสนอง อย่างมีประสิทธิภาพ
    • รวบรวมข้อมููลความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
  3. การวิเคราะห์และคัดเลือกประเด็นสำคัญ
    • คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคณะทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนนำข้อมูลที่ได้รับจาก ผู้มีส่วนได้เสียมาพิจารณาเพื่อวิเคราะห์และคัดเลือกประเด็นความสำคัญที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียตามบริบทที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านความเสี่ยงและโอกาส ในขณะเดียวกันประเด็นดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายขององค์กรด้วยเช่นกัน

การสร้างความผูกพันต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัทเป็นรากฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทจากผลการวิเคราะห์ความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทให้บรรลุเป้าหมายตามที่กลุ่มบริษัทวางไว้ และช่วยส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้น การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างมั่นคง ลดความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจ และสร้างประโยชน์ร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล

Stakeholders Relationships
กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องโดยครอบคลุมในทุกกิจกรรมของบริษัท และดำเนินการให้สอดคล้องกับการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการนำข้อมูลการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียมาใช้ประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัท เพื่อประโยชน์สำหรับการจัดลำดับการตอบสนองความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียตามผลกระทบและความคาดหวังต่อบริษัท โดยสนับสนุน การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของผู้มีส่วนได้เสียผ่านกิจกรรมและช่องทางการสื่่อสารต่างๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมกำหนดการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งดำเนินการติดตาม วัดผล และรายงานผล การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อนำไปสู่การเติบโตขององค์กรอย่างต่อเนื่อง พัฒนาความสัมพันธ์เชิงบวก สร้างความเชื่อมั่น และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ

นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการบริษัทยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส ควบคู่ไปกับการมีบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของกลุ่มบริษัท ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายในหรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้ นโยบายและแนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัท ได้แสดงเอกสารฉบับเต็มไว้ที่เว็บไซต์ของบริษัท (https://www.thoresen.com/th/corporate-governance/corporate-policy-documents)

Stakeholder Engagement Policy and Practices

การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย

จากการแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย สามารถจัดลำดับความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียดังนี้

ผู้มีส่วนได้เสีย
เป้าหมาย ช่องทางการสื่อสารและการสร้างความผูกพัน ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย/ประเด็นที่ให้ความสนใจ การดำเนินงานเพื่อตอบสนองในปี 2566
ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
  • เปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
  • มีการบริหารจัดการการกำกับดูแลกิจการที่โปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดการความเสี่ยงองค์กรทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • การประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
  • สื่อสารผลการดำเนินงานผ่านแบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืน
  • รายงานผลประกอบการฉบับย่อผ่านวารสารนักลงทุนสัมพันธ์ ไตรมาสละ 1 ครั้ง
  • เข้าร่วม Opportunity day ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง
  • คำอธิบายและการวิเคราะห์ของ ฝ่ายจัดการต่องบการเงินผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ และตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง
  • กิจกรรมพบปะนักลงทุน รายไตรมาส
  • การเยี่ยมชมกิจการ
  • เปิดช่องทางในการสื่อสาร ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ อีเมล โทรศัพท์ และอื่นๆ
  • ช่องทาง Whistleblowing สำหรับการรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
    • อีเมล
    • ไปรษณีย์
    • แจ้งด้วยตนเองได้ที่หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน
  • ผลการดำเนินงาน การเติบโตของธุรกิจ และ การสร้างมูลค่าของบริษัทฯ ผ่านช่องทางการลงทุนใหม่ๆ
  • การเปิดเผยความคืบหน้าของผลการดำเนินงาน
  • ความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีหลักการกำกับดููแลกิจการที่ดี
  • คุณภาพสินค้าและบริการ
  • การดูแลสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงการลดภาวะโลกร้อน
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมคุณค่าและความปลอดภัยของพนักงาน
  • บริษัทฯ เปิดเผยผลการดำเนินธุรกิจแก่นักลงทุนทุกรายเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและการเติบโตของธุรกิจโดยรวม
  • บริษัทฯ เปิดเผยสารสนเทศที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี (Periodic Reports) เช่น งบการเงิน รายไตรมาสและรายปี คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) สรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (แบบ F45) และแบบ 56-1 One Report เป็นต้น
  • บริษัทฯ เปิดเผยสารสนเทศตามเหตุการณ์ (Non-Periodic Reports) เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ รายการเกี่ยวโยงกัน การลงทุนต่างๆ เป็นต้น
ลูกค้า
  • ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในหลากหลายมิติรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
  • มีช่องทางให้ลูกค้าเสนอแนะเกี่ยวกับสินค้า บริการและวิธีการขอคำปรึกษา วิธีแก้ปัญหา และรับข้อร้องเรียน
  • แบบประเมินความพึงพอใจหลังการขาย
  • รับข้อร้องเรียน คำแนะนำ/ติชม จากลูกค้าในช่องทางที่หลากหลาย อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนลูกค้า (Call Center) อีเมล โทรศัพท์ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  • คุณภาพสินค้าและบริการ
  • บริการที่มีประสิทธิภาพและตรงเวลา
  • สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและความปลอดภัยของข้อมูล
  • การให้ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย
  • ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เหมาะสมและทันท่วงที
  • บริษัทจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังการขาย และสื่อสารให้ลูกค้าประเมินความพึงพอใจ เพื่อใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงการให้บริการของบริษัทต่อไป
  • บริษัทสื่อสารช่องทางต่างๆ ในการรับข้อร้องเรียนให้ลูกค้ารับทราบ เพื่อเป็นทางเลือกในการรับคำแนะนำ/ติชมได้หลากหลายช่องทาง พร้อมทีมงานรับข้อเรียน และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  • บริษัทมีนโยบายในการรักษาคุณภาพในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าภายในเวลาที่กำหนดภายใต้แบรนด์ “พิซซ่า ฮัท” สำหรับสินค้าประเภทอาหารจะได้รับการจัดส่งโดยการจัดเก็บในกระเป๋าที่ควบคุมอุณหภูมิความร้อนของสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อสินค้าที่จัดส่งถึงลูกค้า คุณภาพสินค้าและรสชาติยังคงคุณภาพดี
  • บริษัทมีการวิจัยและพัฒนาสินค้าภายใต้แบรนด์ “พิซซ่า ฮัท” อย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่นำเสนอออกสู่ตลาดมีรูปลักษณ์สวยงาม ปลอดภัย และรสชาติอร่อยตามความต้องการของผู้บริโภค
พนักงาน
  • เข้าใจความต้องการของพนักงานและอำนวยความสะดวก เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขรวมถึงส่งเสริม การพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
  • สื่อสารทิศทางและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่อให้พนักงานรับทราบความเคลื่อนไหวในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  • มีสวัสดิการและค่าตอบแทน ต่างๆ ที่เป็นธรรม รวมทั้งมีสภาพการทำงานที่เหมาะสมและได้รับการดูแลด้านอาชีวอนามัย ตลอดจนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  • การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ และระบบออนไลน์ภายในบริษัทฯ
  • แบบสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน • ช่องทาง Whistleblowing สำหรับการรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
    • อีเมล
    • ไปรษณีย์
    • แจ้งด้วยตนเองได้ที่หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน
  • ระบบ Portal, We-Connect, อีเมล คลิปวิดีโอ กรุ๊ปแชทของพนักงานบริษัทฯ
  • กิจกรรมสังสรรค์ประจำปีของพนักงาน และกิจกรรมท่องเที่ยวประจำปีของพนักงานบริษัทฯ และบริษัทในเครือ
  • การประเมิน MAX Performance Evaluation
  • สิทธิผลประโยชน์ และค่าตอบแทน
  • การรักษาพนักงาน
  • การพัฒนาขีดความสามารถ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • ความเท่าเทียมกันทางเพศ
  • การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และการทำงานที่ยืดหยุ่น
  • ความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีหลักการกำกับดููแลกิจการที่ดี
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • บริษัทฯ จ้างงานที่เป็นธรรมแก่คนทุกกลุ่มที่มีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่งงาน และมอบค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติอันเนื่องด้วยเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ อายุ สีผิว ความพิการ ฐานะทางการเงิน และชาติตระกูล
  • บริษัทฯ จัดฝึกอบรมหลักสูตรที่ตรงกับสายงานของบุคลากร พร้อมกับการให้โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่ การงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยการให้ผลตอบแทนในรูปของเงินเดือน เงินรางวัลประจำปี (โบนัส) ประกันสุขภาพ สวัสดิการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าทำงานล่วงเวลา จำนวนวันลาพักร้อนที่เพิ่มขึ้นตามอายุงาน และรางวัลพนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯ ในระยะยาวอย่างเหมาะสม
  • บริษัทฯ จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจแลความผูกพันของพนักงาน และนำผลการสำรวจมาพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานให้ตอบสนองความต้องการของพนักงานมากยิ่งขึ้น
  • กิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร
คู่ค้า
  • สร้างมูลค่าต่อการดำเนินงานของคู่ค้า
  • สนับสนุนและยกระดับการดำเนินงานของคู่ค้า เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ส่งผลให้เกิด การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ดูแลสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของ คู่ค้า
  • สนับสนุนให้คู่ค้ามีความรู้ความเข้าใจและทักษะ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ปลอดภัย
  • การดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงในราคาที่ยุติธรรม อีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และทิศทาง การดำเนินธุรกิจในอนาคต
  • การขึ้นทะเบียนคู่ค้า
  • สื่อต่างๆ ของบริษัทฯ เช่น เว็บไซต์วารสารนักลงทุนสัมพันธ์
  • ช่องทาง Whistleblowing สำหรับการรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
    • อีเมล
    • ไปรษณีย์
    • แจ้งด้วยตนเองได้ที่หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน
  • แบบประเมินคุณภาพของคู่ค้า
  • งานพบปะและสัมมนาประจำปี
  • การพัฒนา ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ลูกค้ามีสุขภาพ โภชนาการ และความเป็นอยู่ที่ดี
  • การดำเนินงานที่มีระบบและมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อความรวดเร็วในการติดตามงานต่างๆ
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • กิจกรรมที่เพิ่มการมีส่วนร่วมขององค์กรและส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก
  • บริษัทฯ จัดทำจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับคู่ค้าในการปรับปรุงและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน
  • บริษัทฯ สื่อสารจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจเพื่อให้คู่ค้ารับทราบและปฏิบัติตาม
ผู้สนับสนุนทางด้านการเงิน
  • เปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
  • มีการบริหารจัดการการกำกับดูแลกิจการที่โปร่งใส และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันทางธุรกิจ และ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดการความเสี่ยงองค์กรทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • การเยี่ยมชมกิจการ
  • เปิดช่องทางในการสื่อสาร ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ อีเมล โทรศัพท์ และอื่น ๆ
  • การดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านความยั่งยืนที่คำนึงถึงผลกระทบในทุกมิติ และผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน
  • บริษัทฯ ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์บริษัทให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง และทันสมัยกับผู้สนับสนุนทางการเงิน
ชุมชน สังคม
  • เคารพสิทธิชุมชน ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างประโยชน์สุขของชุมชนและสังคม
  • การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างถูกต้อง และทันต่อเหตุการณ์
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทฯ
  • กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ช่องทาง Whistleblowing สำหรับการรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
    • อีเมล
    • ไปรษณีย์
    • แจ้งด้วยตนเองได้ที่หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน
  • การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
  • การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • บริษัทฯ จัดกิจกรรมเพื่อสังคมอยู่เสมอ ทั้งกิจกรรมที่เป็น CSR After process และกิจกรรม CSR In process
  • บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคม โดยการจัดทำแอปพลิเคชั่น BUDDY THAI เพื่อแก้ปัญหา การรังแกและการกลั่นแกล้งในเด็ก
นักวิเคราะห์การลงทุน
  • เปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
  • สนับสนุนข้อมูลตามที่นักวิเคราะห์การลงทุนต้องการ
  • การประชุมนักวิเคราะห์ รายไตรมาส
  • การเยี่ยมชมกิจการ
  • เปิดช่องทางในการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ อีเมล โทรศัพท์และอื่นๆ
  • การเปิดเผยความคืบหน้าผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างทันท่วงที
  • ความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีหลักการกำกับดููแลกิจการที่ดี
  • ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • บริษัทฯ ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยกับนักวิเคราะห์การลงทุน
  • บริษัทฯ เปิดเผยสารสนเทศที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาบัญชี (Periodic Reports) เช่น งบการเงิน รายไตรมาส และรายปี คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) สรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (แบบ F45) และแบบ 56-1 One Report เป็นต้น
หน่วยงานภาครัฐ
  • เป็นต้นแบบที่ดีแก่บริษัทอื่นในด้านการบริหารจัดการที่โปร่งใส และเป็นเลิศ
  • ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและนำเสนอแนวทาง ที่ดีเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เปิดเผยผลการดำเนินงานและสื่อสารผ่านแบบ 56-1 One Report
  • รายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับวิชาชีพ
  • สื่อสารอย่างต่อเนื่องผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  • ช่องทาง Whistleblowing สำหรับการรับเรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
    • อีเมล
    • ไปรษณีย์
    • แจ้งด้วยตนเองได้ที่หัวหน้าแผนกตรวจสอบภายใน
  • การสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของคนในสังคม
  • บริษัทฯ ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง และทันสมัยกับหน่วยงานภาครัฐ
  • บริษัทฯ มีการรายงานผลประกอบการเพื่อนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานและศักยภาพการเติบโต
  • บริษัทฯ เปิดเผยสารสนเทศที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาปีบัญชี (Periodic Reports) เช่น งบการเงิน
  • รายไตรมาส คำอธิบายและการวิเคราะห์ของ ฝ่ายจัดการ (MD&A) สรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (แบบ F45) และแบบ 56-1 One Report เป็นต้น
  • บริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
สื่อมวลชน
  • เปิดเผยข้อมูลสำคัญต่างๆ ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
  • การประชุมประจำปีของบริษัทฯ
  • เปิดช่องทางในการสื่อสาร ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ อีเมล โทรศัพท์ บทความ ข่าว และอื่นๆ
  • การปรับปรุุงระบบการทำงานขององค์กร ให้ตอบโจทย์โลกในยุุคปัจจุบัน
  • การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • บริษัทฯ ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง และทันสมัยกับสื่อมวลชน
  • บริษัทฯ มีการรายงานผลประกอบการเพื่อนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานและศักยภาพการเติบโต
  • บริษัทฯ เปิดเผยสารสนเทศที่ต้องรายงานตามรอบระยะเวลาปีบัญชี (Periodic Reports) เช่น งบการเงิน รายไตรมาส และรายปี คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) สรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (แบบ F45) และแบบ 56-1 One Report เป็นต้น