การประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท

กลุ่มบริษัทได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการให้สอดคล้องและตรงกับประเด็นสาระสำคัญที่กลุ่มบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัทให้ความสนใจ หรือมีความคาดหวังให้เกิดการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น จึงมีการประเมินเพื่อทบทวนการเปลี่ยนแปลงประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท โดยพิจารณาให้สอดคล้องตาม กลยุทธ์ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และมาตรฐานการรายงานด้านความยั่งยืนขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วย การรายงานสากล (GRI: Global Reporting Initiative) เพื่อสะท้อนประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจของกลุ่มบริษัท และอิทธิพลต่อการประเมินและตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ อันจะสามารถนำไปบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และมีรายละเอียดการประเมินทั้งหมด 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1. การระบุประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน
2. การจัดลำดับประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน
กลุ่มบริษัทศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกลุ่มธุรกิจ (Materiality Assessment) ซึ่งครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากมาตรฐาน ข้อกำหนด แนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนในระดับสากล แนวโน้มความยั่งยืน และประเด็นที่บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับบริบทและการดำเนินการด้านความยั่งยืนขององค์กร รวมทั้งพิจารณาผลกระทบเชิงบวกเชิงลบ ความคาดหวัง ความคิดเห็นและข้อมูลสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อกลุ่มบริษัท โดยในปี 2566 กลุ่มบริษัทสามารถระบุประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนได้ทั้งสิ้น 14 ประเด็น ในการระบุประเด็นที่มีนัยสำคัญตามมาตรฐานการรายงานสากล (GRI: Global Reporting Initiative) จะมีการประเมินลำดับความสำคัญของประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ โดยพิจารณาจาก 2 มุมมอง คือ 1) โอกาสและผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าของกลุ่มบริษัท และ 2) ระดับความสนใจ มุมมอง ผลกระทบ และความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์และจัดลำดับประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนผ่านการจัดทำแบบสอบถามออนไลน์ในประเด็นดังกล่าวกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 9 กลุ่ม โดยผลการประเมินระดับความสำคัญในปี 2566 แสดงดังแผนผังสรุปประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน (Material Matrix)
3. การตรวจสอบประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน
4. การทบทวนประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน
หลังจากผ่านการประเมินลำดับความสำคัญของประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนแล้ว ประเด็นดังกล่าวจะถูกนำเสนอแก่คณะทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้รับทราบและตรวจสอบความถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาทบทวนประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อกลุ่มบริษัท รวมทั้งความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก และขออนุมัติประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะได้รับการนำเสนอในรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ต่อไป เพื่อให้เกิดการดำเนินงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร กลุ่มบริษัทได้มีแผนงานในการติดตามการบริหารจัดการประเด็นที่มีนัยสำคัญ และเปิดเผยผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ และมาตรฐานในการรายงาน รวมทั้งการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจะมีการติดตามการบริหารจัดการในแต่ละประเด็นดังกล่าว และนำเสนอต่อคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวน และปรับปรุงประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อกลุ่มบริษัท ให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท

แผนผังสรุปประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน (Material Matrix)

กลุ่มบริษัทได้จัดกลุ่มประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนออกเป็น 3 มิติ ซึ่งครอบคลุมประเด็นในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ เพื่่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท โดยมีระดับความสำคัญของแต่ละประเด็น ดังนี้

มิติสิ่งแวดล้อม
มิติสังคม มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
8. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 12. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1. ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ
9. การบริหารจัดการน้ำ 13. การพัฒนาทุนมนุษย์ 2. การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
10. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลยุทธ์ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14. การตรวจสอบสิทธิมนุษยชน 3. การบริหารห่วงโซ่คุณค่า
11. การบริหารจัดการของเสีย 4. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์
5. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
6. การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
7. การบริหารจัดการคุณภาพการบริการ และข้อร้องเรียน

จากประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัททั้ง 14 ประเด็นดังกล่าว กลุ่มบริษัทจึงได้นำมาพิจารณาเพื่อใช้เป็นกรอบริเริ่มกำหนดทิศทางกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทในปี 2566 อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบการรายงานเนื้อหาที่จะเปิดเผยในแบบ 56-1 One Report และรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ

โดยในปี 2566 บริษัทฯ ได้เปิดเผยการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในรายงานความยั่งยืน ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สื่อให้เห็นถึงการพัฒนาและดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทที่ครอบคลุมการพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยก่อให้เกิดกระบวนการทบทวน และพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท

หลักเกณฑ์และขอบเขตการรายงาน

ในการรายงาน กลุ่มบริษัทมีการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 โดยมีขอบเขต การรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมครอบคลุมข้อมูลของกลุ่มบริษัท และอ้างอิงแนวทางการรายงานให้มีความสอดคล้องตามดัชนีชี้วัดของมาตรฐาน GRI นอกจากนั้นกลุ่มบริษัทมีการรายงานข้อมูลโดยเชื่อมโยงการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) หรือ SDGs และรายงานข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามแบบประเมิน Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือหุ้นยั่งยืน หรือ ESG Ratings ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ เนื้อหาทั้งหมดของการรายงานในหัวข้อการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทจะผ่านการตรวจสอบและการให้คำแนะนำ พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบต่อข้อมูลสำคัญที่ถูกเปิดเผยในหัวข้อนี้จากผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้เนื้อหาของรายงานมีความครบถ้วนและสมบูรณ์ รวมทั้งสามารถสร้างคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มของกลุ่มบริษัท อย่างไรก็ตาม ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็น ข้อสงสัย หรือคำแนะนำเพิ่มเติม โดยบริษัทฯ จะรวบรวมและนำความคิดเห็นดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาและยกระดับการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต

ช่องทางการสื่อสาร

ฝ่ายเลขานุการบริษัท

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
อาคารอรกานต์ ชั้น 7 เลขที่ 26/26-27 ซอยชิดลม
ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ : +66 (0) 2250-0569
Email : COR@thoresen.com