กลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อนุมัติกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และค่านิยมขององค์กร อีกทั้งยังกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งจะสะท้อนถึง 3 เสาหลักของมิติด้านความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) คือ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์ที่กลุ่มบริษัทได้พัฒนาจะแบ่งหลักกลยุทธ์ตามประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยในการกำหนดกรอบการทำงานที่ชัดเจนให้กับกลุ่มบริษัท และบริษัทที่ TTA เข้าไปถือหุ้น โดยวางกรอบกลยุทธ์ในการนำมาใช้บริหารจัดการด้านความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัทที่จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างและดำรงความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน สังคม โดยการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดกระบวนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท

TTA จะก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มบริษัทเพื่อการลงทุนชั้นนำของเอเชียที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุด ด้วยการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Stability
Sustainability Futuristic Investment
People
Planet Prosperity
ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านสังคม ด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
ยกระดับการใช้ทรัพยากรและการจัดการ ของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการติดตามและตรวจสอบ การดำเนินงานภายใน เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มบริษัทบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พัฒนาการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และยกระดับความเป็นอยู่ ที่ดีของพนักงาน สร้างความตระหนัก ด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนเสริมสร้างพนักงานที่มีความสามารถผ่านวัฒนธรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนองค์กร สู่อนาคตที่ยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง ที่ครอบคลุมปัจจัยด้าน ESG และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับการบริหารทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานเพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัย พร้อมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า และลดข้อร้องเรียน

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)

SDGs2
SDGs3
SDGs4
SDGs5
SDGs6
SDGs7
SDGs8
SDGs9
SDGs10
SDGs11
SDGs12
SDGs13
SDGs14
SDGs16
SDGs17

นอกจากนี้ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าว ยังสามารถพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางกลยุทธ์ธุรกิจหลักขององค์กรในด้าน Stability, Sustainability, Futuristic Investment, People, Planet และ Prosperity อีกด้วย ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าและการเติบโตในระยะยาวที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของทุกภาคส่วน โดยเป็น การพิจารณาตั้งแต่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคมอย่างมีส่วนร่วม และการตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกมิติของกระบวนการทำงานในองค์กร ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจด้วย หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียอย่างบูรณาการ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทเชื่อว่ากรอบกลยุทธ์ดังกล่าวจะเป็นแกนหลักสำคัญที่ช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มบริษัทเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท โดยมีกรอบแนวทาง การดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality) ของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทได้เชื่อมโยงการดำเนินงานในแต่ละประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อกลุ่มบริษัทให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยพบว่าจากจำนวนเป้าหมายทั้งหมด 17 ข้อ ประเด็นที่มีนัยสำคัญของกลุ่มบริษัทสอดคล้องใน 14 ข้อ ในปี 2566 กลุ่มบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกรอบกลยุทธ์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานตามประเด็นที่มีนัยสำคัญ รวมทั้งเป้าหมายที่กลุ่มบริษัทได้กำหนดไว้สำหรับการดำเนินงานในอนาคตร่วมด้วย ดังแสดงในตารางรายการประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท

Sustainable Development Gold

ตารางรายการประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนปี 2566

ภายใน
ภายนอก
ประเด็นที่มีสาระสำคัญ
เป้าหมาย ด้านความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ขอบเขตผลกระทบ ภายใน / ภายนอก ความสําคัญต่อการดําเนินธุรกิจ แนวทางการบริหารจัดการ เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน หัวข้อการรายงาน
ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน SDGs7
  • กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้ไฟฟ้าในการดำเนินงาน จึงให้ความสำคัญกับการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและการลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น
  • การปฏิบัติตามนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมและกรอบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
  • การปฏิบัติตามกฎหมายกฏ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
  • จัดหาโครงการลงทุนในพลังงานทดแทน
  • TTA ตั้งเป้าลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงร้อยละ 2 จากปีก่อนหน้า
  • TTA ใช้ไฟฟ้า 736,344 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 10.92 บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
การบริหารจัดการน้ำ SDGs3 SDGs6
  • กลุ่มบริษัทตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจากธุรกิจการเดินเรือหรือการใช้น้ำในส่วนของสำนักงาน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการใช้น้ำให้น้อยที่สุด
  • ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อบังคับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • โทรีเซน ชิปปิ้ง จัดตั้งหน่วยงาน Technical Department ที่ดูแลการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสียให้เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การทะเลระหว่างประเทศ และจัดทำแผนในการดำเนินงานให้มีความเหมาะสม
  • พัฒนาระบบการทำงานและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • TTA ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการใช้น้ำภายในสำนักงานใหญ่ลงอย่างน้อยร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้า
  • PHC ตั้งเป้าหมายระยะสั้น ในการกำหนดให้มีการรักษามาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพน้ำไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของจำนวนสาขาทั้งหมดที่ได้รับการตรวจสอบ (ตรวจสอบทุกสาขา)
  • TTA ใช้น้ำไปทั้งสิ้น 1,842 ลูกบาศ์กเมตร ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 14.37 บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และสามารถประหยัดค่าน้ำได้ จำนวน 6,180 บาท
  • PHC สามารถรักษามาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพน้ำได้ร้อยละ 95 ของจำนวนสาขาทั้งหมดที่ได้รับการตรวจสอบ (ตรวจสอบทุกสาขา)
  • การบริหารจัดการน้ำ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SDGs3 SDGs12 SDGs13
  • ทุกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ กลุ่มบริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดผลกระทบจากการดำเนินงาน รวมถึงการมีกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและตอบสนองความคาดหวังต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ
  • จัดทำกลยุทธ์ระยะสั้นและระยะยาวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
  • โทรีเซน ชิปปิ้งกำหนดค่าการลดปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณร้อยละ 5 ภายในปี 2566 และปีละอีก ร้อยละ 2 ในปี 2567 และ 2568
  • ในปี 2566 บริษัทสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก 340,487 ตันคาร์บอน (tCO2) ในปี 2565 เป็น 303,009 ตันคาร์บอน (tCO2) ลดลงร้อยละ 11
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การบริหารจัดการของเสีย SDGs06 SDGs11 SDGs12 SDGs14
  • กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการของเสีย ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจที่จะช่วย ลดความเสี่่ยงเรื่่องการใช้ทรัพยากร เกินความจำเป็นในการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่่งแวดล้อม ตลอดจน ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย
  • การใช้ทรัพยากรและ การนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้กับการดำเนินธุรกิจ
  • ใช้หลัก 5Rs ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
  • TTA ตั้งเป้าลดใช้ของเสียไม่อันตราย (กระดาษ) ลงร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้า
  • ปริมาณสั่งซื้อขยะไม่อันตราย (กระดาษ) ของบริษัทฯ ลดลงเหลือ 1,510 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับปี 2565
  • การบริหารจัดการของเสีย
การตรวจสอบสิทธิมนุษยชน SDGs08 SDGs16
  • กลุ่มบริษัทตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่าการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นความรับผิดชอบสูงสุดขององค์กรในขณะที่การดำเนินธุรกิจดำเนินไปด้วยความเกี่ยวข้องกับพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และอื่นๆ โดยกลุ่มบริษัทได้ดำเนินการตามหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ช
  • คณะกรรมการบริษัทพิจารณา ทบทวน และให้แนวทางในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการกำหนดนโยบาย
  • การประเมินประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อนำไปปรับปรุงทะเบียนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • TTA ตั้งเป้าหมายอบรมนโยบายสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานแก่พนักงาน ร้อยละ 70
  • พนักงานของ TTA เข้าร่วมการอบรมนโยบายสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานร้อยละ 72
  • การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย SDGs03 SDGs08 SDGs16
  • การจัดการด้านความปลอดภัยอย่าง มีประสิทธิภาพโดยปฏิบัติตามกฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ถือเป็นอีกเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินงานแล้ว จะสามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อพนักงานและผู้รับเหมา รวมถึง ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
  • คำนึงถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยตามลักษณะงานครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งของพนักงานและผู้รับเหมา
  • สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กรผ่านการอบรมและการสื่อสาร
  • สร้างเสริมสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน
  • TTA ตั้งเป้าอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR) เท่ากับ 0 ครั้ง
  • อัตราการบาดเจ็บถึง ขั้นหยุดงานจากการทำงาน (LTIFR) ของ TTA เท่ากับ 0 ครั้ง
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การพัฒนาทุนมนุษย์ SDGs03 SDGs04 SDGs05 SDGs08 SDGs10 SDGs16
  • พนักงานที่มีความสามารถ และความรู้ในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จได้ กลุ่มบริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของพนักงานผ่านการเรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและ สิทธิแรงงาน
  • รักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถให้อยู่กับกลุ่มบริษัท มอบโอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเสมอภาค เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานในกลุ่มบริษัท
  • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ และเคารพสิทธิของพนักงานทุกคน
  • TTA ตั้งเป้าหมายด้านการฝึกอบรมพนักงาน 5 ชั่วโมง/คน/ปี
  • TTA ตั้งเป้าหมายพนักงานทุกคนต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากการ เข้าร่วมโครงการ MAX Performance Plan
  • จำนวนชั่วโมงฝึกอบรมของพนักงานของ TTA เท่ากับ 6.87 ต่อคนต่อปี
  • พนักงานที่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากการ เข้าร่วมโครงการ MAX Performance Plan ร้อยละ 100
  • การพัฒนาทุนมนุษย์
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ SDGs03 SDGs12
  • การส่งมอบสินค้าที่ได้มาตรฐานและบริการที่ปลอดภัย เพื่อสร้าง ความไว้วางใจจากลูกค้า รักษาลูกค้าประจำและขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ในอนาคต
  • PHC จัดให้มีฝ่ายประกันคุณภาพติดตามให้ทุกสาขาของร้านอาหารได้รับการตรวจมาตรฐานตามเงื่อนไขของเจ้าของเฟรนไชส์ครบถ้วนและบรรลุเป้าหมายของความปลอดภัยของอาหาร
  • กรณีมีข้อร้องเรียนจากลูกค้า ต้องทำการแก้ไขพร้อมวิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกร่วมกับทางฝ่ายประกันคุณภาพ
  • PHC ตั้งเป้าหมายให้พนักงานและคู่ค้าเข้ารับการฝึกอบรมด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ร้อยละ 100
  • พนักงานและคู่ค้าของ PHC เข้ารับการฝึกอบรมด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารร้อยละ 100
  • คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และบริการ
การบริหารความสัมพันธ์ ลูกค้า/การบริหาร จัดการคุณภาพการบริการ และข้อร้องเรียน SDGs8 SDGs12
  • ลูกค้าคือหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การรักษาความพึงพอใจของลูกค้า และคุณภาพการบริการ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตและสามารถขยายได้อย่างต่อเนื่อง
  • PHC ได้นำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล (Personalization) เพื่อสร้างกิจกรรมในเรื่องการส่งเสริมการขายให้ถูกหลักและตรงต่อความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
  • PHC ยกระดับการจัดการคุณภาพการบริการควบคู่ไปกับความคาดหวังของลูกค้า โดยการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานในแต่ละกลุ่มธุรกิจภายใต้ระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อรักษาระดับคุณภาพของสินค้าและบริการ และลดข้อร้องเรียน ที่อาจจะเกิดขึ้น
  • PHC ตั้งเป้าหมายความพึงพอใจในภาพรวมของลูกค้า ร้อยละ 83
  • PHC ตั้งเป้าหมายให้สามารถแก้ไขข้อร้องเรียนทั้งหมดที่ได้รั
  • PHC ได้รับผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมจากลูกค้า ร้อยละ 81.4
  • PHC สามารถแก้ไขข้อร้องเรียนทั้งหมดที่ได้รับร้อยละ 100
  • การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าและการจัดการข้อร้องเรียน
การบริหารห่วงโซ่คุณค่า SDGs8 SDGs9 SDGs12 SDGs16 SDGs17
  • ยกระดับจากการจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ผ่านห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัท
  • บริษัทฯ จัดทำจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ(Supplier Code of Conduct) โดยครอบคลุมแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้า การคัดเลือกคู่ค้า และหลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้า
  • TTA ตั้งเป้าหมายให้คู่ค้าของบริษัทฯ รับทราบจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจมากกว่าร้อยละ 50
  • คู่ค้าของ TTA รับทราบจรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจเป็นจำนวนร้อยละ 52.94
  • การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ SDGs9 SDGs16
  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้าถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของบริษัทฯ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชื่อเสียงและต้นทุนจากความผิดพลาดในการดำเนินงาน
  • เพิ่มความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลโดยการตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินภัยคุกคาม
  • จัดทำนโยบายการจัดการความปลอดภัยทางด้านสารสนเทศและไซเบอร์
  • เพิ่มความรู้ความเข้าใจในเรื่องการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
  • จัดทำโครงการ การทดสอบการโจมตี Phishing E-mail
  • ไม่มีพนักงานที่ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกลวงในโครงการการทดสอบ การโจมตี Phishing E-mail ภายใน 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มโครงการ
  • ผลการทดสอบโครงการการทดสอบการโจมตี Phishing E-mail ครั้งแรกในปี 2566 มีผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบ (ตกเป็นเหยื่อ) 16 คน
  • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม SDGs2 SDGs5 SDGs7 SDGs8 SDGs9 SDGs12
  • การพัฒนานวัตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างความแตกต่างระหว่างคู่แข่ง ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการคิดค้น และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่าง เท่าเทียม
  • การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • ส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริง
  • การจัดกิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมโดยให้พนักงานมีส่วนร่วม
  • TTA ขยายการลงทุนในการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
  • TTA มีการขยายการลงทุนในการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เช่น รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบรนด์ P80 Go
  • การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต SDGs8 SDGs13
  • ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกำกับดูแลกิจการ เพื่อช่วยให้องค์กรดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและสามารถสร้างผลตอบแทนภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม
  • บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อพิจารณาและกำหนดนโยบายและกรอบบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการกำกับดูแลหน่วยงานในกลุ่มบริษัทให้ปฏิบัติตามกรอบนโยบายขององค์กร
  • บริษัทฯ ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานและการจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
  • TTA ตั้งเป้าอบรมพนักงานเรื่องการบริหารความเสี่ยงร้อยละ 70
  • พนักงานของ TTA ได้ผ่านการอบรมเรื่องการบริหารความเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 72
  • การบริหารความเสี่ยงและจัดการภาวะวิกฤต