ชี้แจงผลประกอบการไตรมาสที่ 4

เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07029t/pc

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เรื่อง ชี้แจงผลประกอบการไตรมาสที่ 4

เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ภาพรวม

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") มีผลกำไรสุทธิ 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2550 (ไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550) เท่ากับ 1,159.16 ล้านบาท โดยรวมผลกำไรจาก อัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 78.90 ล้านบาทแล้ว และมีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 1.80 บาท

สำหรับในงวดเดียวกันของปีก่อน คือ ไตรมาสที่ 4 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 (ไตรมาส ที่ 4 ของปีบัญชี 2549) บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 861.83 ล้านบาท โดยรวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 160.82 ล้านบาทไว้แล้ว และมีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 1.34 บาท

บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานทั้งหมดในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 5,703.31 ล้านบาท มีรายจ่ายจากการดำเนินงานทั้งหมดในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 3,990.68 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่ากับ 644.36 ล้านบาท เหตุผลหลักที่บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นคือ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายในการเข้าอู่แห้ง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย การบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ผันแปรของพนักงานเดิมบริษัทฯ จะบันทึกค่าใช้จ่ายจากการจ่ายโบนัส ให้พนักงานในไตรมาสที่มีการจ่ายโบนัส แต่ในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานดังกล่าวไว้แล้ว เพื่อให้ครอบคลุมถึงการจ่ายโบนัสที่จะมีขึ้นจากผลประกอบการ ของรอบปีบัญชี 2550 ทั้งนี้ ตั้งแต่ รอบปีบัญชี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของ พนักงานจะทยอยตั้งสำรองตลอดทั้งปี เพื่อให้ครอบคลุมถึงเงินโบนัสที่จะจ่ายในปีนั้นๆ

จากวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2550 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบ เท่าเงินสดเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2,372.68 ล้านบาท บริษัทฯ มีเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรม จัดหาเงิน เป็นเงินเท่ากับ 6,832.15 ล้านบาท และ (99.07) ล้านบาท ตามลำดับ และนำไปใช้ในกิจกรรม การลงทุนเท่ากับ 4,349.78 ล้านบาท

...ต่อหน้า 2/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 2
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07029t/pc

 

อัตราค่าระวางเรือโดยเฉลี่ย รวมอัตราค่าระวางเรือที่บริษัทฯ เช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มเติม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.90 จาก 11,451 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2549 เป็น 18,082 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 จำนวนวันเดินเรือลดลงร้อยละ 0.90 จาก 4,180 วัน ในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2549 เป็น 4,140 วันในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550

การที่ผลกำไรสุทธิรวมเพิ่มขึ้นนั้น มีสาเหตุหลักมาจากอัตราค่าระวางเรือและการใช้เรือในธุรกิจเรือ บรรทุกสินค้าแห้งเทกอง และในธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่งอยู่ในระดับสูง ซึ่งได้ผลรวมจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น (ส่งผลให้รายรับที่เป็นเงินบาทนั้นลดลง) และผลการดำเนินงานของธุรกิจขุดเจาะน้ำมันที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ด้วยแล้ว

การวิเคราะห์ส่วนงานธุรกิจหลัก

ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมีผลกำไรที่ดี ในขณะที่ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือมีผล ขาดทุนเล็กน้อย

ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมีผลกำไรสุทธิ 1,143.86 ล้านบาท ไม่รวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยลดลงร้อยละ 0.02 เทียบกับระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (ไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550) ในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 หากไม่รวมการตั้งสำรองค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงาน ผลกำไรจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.50 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 3 เดือน ระหว่าง ไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 และไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550

อัตราค่าระวางเรือโดยเฉลี่ย รวมอัตราค่าระวางเรือที่บริษัทฯ เช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มเติมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.20 จาก 16,550 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำ ในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 เป็น 18,082 ดอลลาร์สหรัฐ อเมริกาต่อวันต่อลำ ในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550

ปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดของกองเรือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ยังคงอยู่ในระดับสูงโดยมีปริมาณการขนส่งสินค้าจำนวน 13.32 ล้านตัน ซึ่งน้อยกว่ารอบปีบัญชี 2549 ทั้งนี้บริษัทฯ ได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มกำไรจากการเดินเรือของเรา และจากการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ บริษัทฯ เชื่อว่าความต้องการในการขนส่งสินค้าในตลาดหลักของเรา อาทิ จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตะวันออกกลาง ยังคงแข็งแกร่งอยู่ และจะยังคงดำเนินต่อไปด้วยดีจนกระทั่งปี 2551

...ต่อหน้า 3/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 3
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07029t/pc

 

จำนวนวันเดินเรือในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 4,140 วัน เทียบกับ 4,095 วัน ในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ปล่อยเรือแบบให้เช่าเหมาลำเป็นระยะเวลา (time charter) เพิ่มจากเดิมอีก โดยมีระยะเวลาการเช่ายาวที่สุดไปจนถึง 2 ปี ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรือเดินทะเล เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.80 เนื่องจากบริษัทฯ ได้เช่าเรือมาเพื่อเสริมกองเรือเพิ่มเติมอีก

ทั้งนี้ส่วนงานธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็น ระยะเวลาสำหรับรอบปีบัญชี 2550 ไว้แล้วร้อยละ 32.73 ของระวางบรรทุกสินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ และร้อยละ 21.01 ของระวางบรรทุกสินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ ในรอบปีบัญชี 2551 ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ เห็นภาพของรายได้ล่วงหน้าชัดเจน

ตลาดธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ยังคงแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 อัตราค่าเช่าเรือ ในตลาดเช่าเรือระยะสั้นขนาด Supramax (Baltic Supramax Index) (จากการคำนวณของ Baltic Exchange Limited) อยู่ในระดับสูงกว่า 58,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 และยังคงอยู่ใน ระดับสูงมาจนถึงไตรมาสปัจจุบัน (71,551 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) ทั้งนี้อัตรา ค่าเช่าเรือขนาด Supramax เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 50,807 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันในไตรมาสนี้

นอกจากนี้ ตลาดเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองก็เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของปริมาณตันไมล์ด้วย (คือปริมาณการ ขนส่งสินค้าคูณด้วยระยะทาง) มีการคาดการณ์ว่า ประเทศจีนจะมีการนำเข้าแร่เหล็กจำนวน 382.2 ล้านตัน ในช่วง เดือนมกราคมถึงธันวาคมของปี 2550 ซึ่งสูงกว่า 12 เดือนแรกของปี 2549 ร้อยละ 17 นอกจากนั้น จีนยังได้กลายมาเป็น ผู้นำเข้าถ่านหิน ซึ่งหมายความว่าประเทศเพื่อนบ้านของจีนจะต้องหาแหล่งผลิตถ่านหินจากแหล่งที่ไกลออกไปและใช้ระยะ เวลาเดินเรือที่ยาวขึ้น เช่น จากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย

ราคาเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมือสองในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเรือขนาด Supramax มือสอง อายุ 5 ปี มีราคา ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ลำละ 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นราคา สูงสุดเท่าที่มีมา รวมทั้งราคาเรือที่สั่งต่อใหม่ (NewBuild) ก็ยังคงเพิ่มสูงอย่างขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะระยะเวลา ส่งมอบเรือนานขึ้นนั่นเอง

...ต่อหน้า 4/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 4
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07029t/pc

 

ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ สำหรับส่วนงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือนั้นมีส่วนแบ่งผล ขาดทุนสุทธิให้กับบริษัทฯ (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เท่ากับ 3.50 ล้านบาท โดยไม่รวมขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยน ทั้งนี้ หากไม่รวมการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายของผลประโยชน์แปรผันของพนักงานแล้ว ส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิ (หลังหักส่วนผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 ระหว่างไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 กับไตรมาสที่ 4 ของ ปีบัญชี 2550 โดยบริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี มีส่วนแบ่งกำไรให้กับบริษัทฯ สูงสุด รองลงมา ได้แก่ บริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเรือที่เข้ารับบริการจำนวนเพิ่มขึ้น และสามารถหาสินค้าเพื่อขนส่งเพิ่มขึ้น

ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง สำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุด 30 กันยายน พ.ศ. 2550 กลุ่มธุรกิจบริการนอก ชายฝั่งมีรายได้จากธุรกิจหลัก เท่ากับ 4,039.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีบัญชี 2549 เท่ากับ ร้อยละ 42.50 และมี ส่วนแบ่งกำไรให้แก่บริษัทฯ ในปี 2550 เท่ากับ 453.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 เท่ากับ ร้อยละ 16.20

ส่วนแบ่งผลกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ รวมถึงอัตราค่าเช่าเรือ อัตราการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ในส่วนงานวิศวกรรมโยธาใต้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบางส่วน ได้ถูกหักกลบด้วยส่วนแบ่งผลกำไรจากส่วนงานขุดเจาะที่น้อยกว่าที่คาดไว้ อันสืบเนื่องจากการหยุดใช้งานของเรือขุดเจาะ และค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งทำให้รายรับลดลง เนื่องจากรายรับที่ได้มาเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต้องถูกแปลงค่าเป็นเงินบาทเพื่อการบันทึกทางบัญชี

ส่วนงานขุดเจาะทำรายได้และผลกำไรให้กับเมอร์เมด คิดเป็นร้อยละ 30.0 และร้อยละ 16.9 ของรายได้ และผลกำไรรวมของเมอร์เมดตามลำดับ

ในรอบบัญชี 2550 เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 และ เอ็มทีอาร์-2 ของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด ได้ปฏิบัติงานตาม สัญญากับลูกค้า อัตราการใช้ประโยชน์ของเรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 เท่ากับร้อยละ 52.88 ซึ่งเกิดจากการที่เรือ ขุดเจาะดังกล่าวหยุดดำเนินงานจำนวน 191 วัน เพื่อการซ่อมเครน และการเข้าตรวจสอบสภาพตามกำหนดเวลาใน ไตรมาสที่ 1 ของรอบปีบัญชี 2550 และจากการเกิดอุบัติเหตุในไตรมาสที่ 3 ของปีบัญชี 2550 การเข้าตรวจสภาพของ เรือขุดเจาะเอ็มทีอาร์ - 1 เป็นไปตาม

...ต่อหน้า 5/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 5
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07029t/pc

 

ข้อกำหนดของสถาบันจัดชั้นเรือ Bureau Veritas และ American Petroleum Institute ซึ่งจะต้องเข้ารับ การตรวจสภาพทุก 5 ปี เมอร์เมดได้บันทึกค่าใช้จ่ายจำนวน 2.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอันเกี่ยวเนื่องกับการ ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่เกิดอุบัติเหตุ และค่าใช้จ่ายในความรับผิดชอบความเสียหายส่วนต้นจากประกันภัย (deductibles) ไว้แล้ว และเรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 สามารถใช้งานได้อีกในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา

เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-2 มีอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือ เท่ากับร้อยละ 79.18 และเรือขุดเจาะ ดังกล่าวได้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 ของปีบัญชี 2550 ซึ่งเรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-2 จะต้องเข้ารับ การตรวจสภาพตามระยะเวลา เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งานตามเทคนิค ซึ่งคาดว่าเรือขุดเจาะเอ็มทีอาร์-2 จะสามารถ ใช้งานได้อีก ประมาณกลางเดือนมกราคม พ.ศ.2551 การหยุดปฏิบัติงานของเรือเอ็มทีอาร์-2 เป็นผลจากความล่าช้า ในการได้รับมอบอุปกรณ์บางอย่าง เพื่อที่จะมาปรับปรุงเรือขุดเจาะดังกล่าวตามความต้องการของลูกค้า และเพื่อให้การ ตรวจสภาพเรือขุดเจาะเสร็จสมบูรณ์

ส่วนงานวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ สินทรัพย์ในส่วนธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ มีอัตราการใช้ประโยชน์จาก เรือสูงถึงร้อยละ 77 ในรอบปีบัญชี 2550 และสร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กลุ่มบริษัท เมอร์เมด ประมาณร้อยละ 69.4 และร้อยละ 98.6 ตามลำดับของรายได้และผลกำไรทั้งหมดของกลุ่มบริษัทเมอร์เมด ซึ่งผลประกอบการที่ดีของ ส่วนธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำมาจากอัตราค่าเช่าเรือที่สูงขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งปี และอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือ ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งกองเรือ ซึ่งอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปีบัญชี 2551

หมายเหตุ หลังจากสิ้นสุดรอบบัญชี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์ไม่ได้กำหนดว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์สิงคโปร์จะต้องเปิดเผยงบไตรมาสที่ 4 ดังนั้น เมอร์เมด จึงเลือกที่จะส่งงบการเงินฉบับเต็มปี (รอบระยะ เวลา 12 เดือน) ให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์ ซึ่งรายงานการเปิดเผยข้อมูลฉบับสมบูรณ์สามารถดูได้ที่ เว็บไซต์

http://info.sgx.com/webcorannc.nsf/new+announcement+last+3+months+by+company+name?O penView&RestrictToCategory=MMERMAID+MARITIME+PUBLIC+CO+LTD

...ต่อหน้า 6/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

หน้า 6
เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07029t/pc

 

หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแล้ว ในไตรมาสที่ 4 ของรอบปีบัญชี 2550 นี้ นับว่าเป็นอีกไตรมาสหนึ่งที่มีผลกำไรสุทธิสูงสำหรับบริษัทฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากกลยุทธ์การกระจายส่วนงาน ธุรกิจของบริษัทฯ (diversification strategy) และความแข็งแกร่งของทั้งธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง และธุรกิจ งานบริการนอกชายฝั่ง

 

ขอแสดงความนับถือ
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

 


(ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต)
กรรมการผู้จัดการ

(นางสาวนุช กัลยาวงศา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน